วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย

การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย

    ค่าเฉลี่ย 1.00  -1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับต่ำ/ปรับปรุง
     ค่าเฉลี่ย 1.50  -2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับปานกลาง/พอใช้ได้
     ค่าเฉลี่ย 2.50  -3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับสูง/ดี

การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย

การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย


    ค่าเฉลี่ย 1.00  -1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับต่ำ/ปรับปรุง
     ค่าเฉลี่ย 1.50  -2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับปานกลาง/พอใช้ได้
     ค่าเฉลี่ย 2.50  -3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES ระดับสูง/ดี

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้

     1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ

     2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้

     3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้

     4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้

     5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

การประเมินคุณภาพภายใน


                การประเมินภายใน  คือการที่สถานศึกษาประเมินตนเอง และหน่วยงานต้นสังกัดเข้ามาประเมิน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินผลการดำเนินงานของตนเอง หรือหน่วยงานในสังกัดว่ามีคุณภาพระดับใด มีปัญหาที่ต้องการการแก้ไขหรือความช่วยเหลือตรงไหน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง


                  ในการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินภายใน  งานประกันคุณภาพการศึกษาได้ดำเนินงานดังนี้
                    1. ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายใน
                    2. สร้าง/หา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  วิธีการการประเมิน
                    3. สร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างครู ผู้รับการประเมิน และผู้ประเมิน
                    4. ครูประเมินตนเอง และรายงานผลการประเมินตนเอง (SSR)  ส่งให้กลุ่มสาระรวบรวม และสรุปผลการประเมินตนเองของกลุ่มสาระฯ
                    5. กลุ่มงาน /งาน สรุปโครงการ  และรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มงาน /งาน
                    6. คณะกรรมการประเมินภายใน ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาจากเอกสาร (รายงานการประเมินตนเอง  สรุปโครงการ) จากการสังเกตสภาพจริง และจากการสอบถามหรือสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง แล้วรายงานผลการประเมินตามมาตรฐานที่รับผิดขอบ
                    7.  คณะกรรมการประเมินภายใน ร่วมกันทบทวนผลการประเมินผลใน แล้วจัดทำรายงานประจำปี เสนอต่อผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา

การประเมินคุณภาพภายนอก


              การประเมินคุณภาพภายนอกคือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตามการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนสมศหรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรอง โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสมศเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกมีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนดังต่อไปนี้
          1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
          2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
          3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเรียนรู้เป้าหมายตามที่กำหนด
          4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนกำหนดหลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
          1 เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสินการจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
          2 ยึดจากความเที่ยงตรงเป็นธรรมมีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้  
3 มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
          4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          5 ทุ่มสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นตามสภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินสภาพภายนอกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน 2550)
1 เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพดีในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2 เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
          3 เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประเภทหนังสือภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
          4 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5 เพื่อรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมกำกับดูแลตรวจสอบประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
4 การประเมินคุณภาพภายใน
clark (2005:2)กล่าวว่า การประเมินคุณค่าภายในโปรแกรมการเรียนการสอนวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการถ้าประเมินเน้นที่กระบวนการประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นและนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการชั้นเรียนและพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนแก้ไขกันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเกรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน  Kemp : 1971เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
1 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          3 ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
          4 กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
          5 วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
          6  ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
          7 ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังการเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
          8 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้างเพื่อหารูปแบบและอื่นๆ
การประเมินภายนอก
          clark (2005:2) กล่าวว่าประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนผู้นำผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่ตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดจนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป Kemp :1971เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
            1 จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
          2 หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3 การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆหรือไม่
4 สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่มี
5 การระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6 วัสดุต่างๆที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7 ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา  เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ซึ่งประเมินโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเรียกชื่อย่อว่าสมศ.” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย  1  ครั้ง  ในทุกรอบ  5  ปี  นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
                    รูปแบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
                    1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งใหมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสิน  การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
                    2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง(evidence– based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
                    3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
                    4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                    5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน

การประกันคุณภาพการศึกษา


               การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ ทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

๑. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

วัตถุประสงค์สำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา คือ การพัฒนาการศึกษาให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน เมื่อมีระบบประกันคุณภาพและมีการประเมินคุณภาพ ย่อมทำให้ทราบระดับคุณภาพของสถานศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และทำให้ทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษา ตลอดจนทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพที่เปิดเผยเป็นรายงานต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ดังนี้

การควบคุมคุณภาพ เป็นการจัดระบบและกลไกสำหรับควบคุมคุณภาพภายในสถานศึกษา 

การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบดูแลระบบและกลไกที่จัดไว้ เช่น ตรวจสอบหน่วยงาน กระบวนการ และระเบียบข้อบังคับ ที่วางไว้

การประเมินคุณภาพ เป็นการตัดสินว่า คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดนั้นอยู่ในระดับใด มีจุดเด่น และจุดด้อย ที่ควรปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใด

การประกันคุณภาพการศึกษาอาจจำแนกได้เป็น ๒ ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก 

๑) การประกันคุณภาพภายใน

เป็นกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเอง

๒) การประกันคุณภาพภายนอก

เป็นการดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก คือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี


ในการประเมินคุณภาพภายนอก ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่อ้างถึงแล้วนั้น ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย ๑ ครั้งในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

๒. หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา

ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้การประเมินคุณภาพภายนอกครอบคลุมมาตรฐาน ๔ ด้าน ดังนี้

๑) ผลการจัดการศึกษา
๒) การบริหารจัดการสถานศึกษา
๓) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๔) การประกันคุณภาพภายใน

โดยมีตัวบ่งชี้ ๑๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ด้านคุณภาพบัณฑิต

มี ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่

๑. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี
๒. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
๓. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๔. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 

มี ๓ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๒. งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
๓. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ

ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

มี ๒ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัย
๒. ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก

ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มี ๒ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๒. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม

ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน

มี ๓ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน 
๒. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน
๓. การพัฒนาคณาจารย์

ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน

มี ๔ ตัวบ่งชี้  ได้แก่

๑. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด
๒. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบัน
๓. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน
๔. ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในด้านต่างๆ

๓. วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา

๑. การประกันคุณภาพภายใน

เป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาทุกระดับ ทุกแห่ง ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และวิธีการ ลงมือทำตามแผน ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาคุณภาพ เมื่อสถานศึกษามีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในแล้ว จะต้องจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นผลจากการประกันคุณภาพภายใน หรือเรียกว่า รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเปิดเผยต่อสาธารณชน

๒. การประกันคุณภาพภายนอก

เป็นการประเมินคุณภาพของการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก โดยมีขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน คือ

๑) ขั้นตอนก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ก่อนการตรวจเยี่ยมคณะผู้ประเมินภายนอกต้องรวบรวมข้อมูลของสถานศึกษา เช่น รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดขอบเขตของการประเมินภายนอก ต่อจากนั้น คณะผู้ประเมินภายนอกจะกำหนดนัดวัน เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษา

๒) ขั้นตอนในระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา เมื่อคณะผู้ประเมินภายนอกไปถึงสถานศึกษาแล้ว ต้องมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ ในการตรวจเยี่ยม มีการสังเกต สัมภาษณ์ และ/หรือดูเอกสารต่างๆ ของสถานศึกษา แล้วจึงวิเคราะห์สรุปข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ และเสนอผลการตรวจเยี่ยมด้วยวาจาต่อสถานศึกษา

๓) ขั้นตอนหรือการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา คณะผู้ประเมินภายนอกจะต้องเขียนรายงานการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ส่งให้สถานศึกษาตรวจสอบและโต้แย้ง และอาจมีการปรับปรุงแก้ไขรายงานให้สมบูรณ์ ก่อนที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน

การประเมินผลและการนิเทศ


                ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศจากใจถึงใจ บนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจและความจริงใจต่อกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ  ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

                  1. เป็นการนิเทศที่พัฒนามาจากการผสมผสานกันระหว่างการนิเทศจากบุคลากรภายนอกและการนิเทศภายในโรงเรียน โยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่เป็นระบบและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน
                  2. ในกระบวนการปฏิสัมพันธืทางการนิเทศแบบร่วมพัฒนา จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้และโรงเรียน ซึงมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น หัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้มีหน้าที่เป็นผู้นิเทศหรือคู่สัญญา (ถ้าผู้รับนิเทศต้องการ) เพื่อนครูที่สนิทสนมไว้วางใจกันและพร้อมที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ มีบทบาทหน้าที่เป็นคู้สัญญา และครูที่มีความสนใจต้องการมีส่วนร่วมแต่ยังขาดความพร้อม สามารถมีส่วนร่วมได้ในบทบาทของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และมีเครือข่ายที่เป็นบุคลากรจากภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ หรือครูผู้ร้วมนิเทศ ซึ่งก็จะมีบทบาทเป็นผู้นิเทศหรือที่ปรึกษา
                 3. เป็นรูปแบบการนิเทศที่ให้ความสำคัญทั้งกระบวนการนิเทศทั่วไป และกระบวนการนิเทศการสอน โดยทั้งสองกระบวนการจะเอื้อประฌยชน์ซึ่งกันและกัน และส่งผลให้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น และสำหรับการนิเทศการสอนในรูปแบบของการนิเทศแบบร่วมพัฒนานี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดในการนิเทศการสอนแบบคลีนิกและการนิเทศเชิงเน้นวัตถุประสงค์
                 4. เป็นการวมกลุ่มกัน เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูที่มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพสูงและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ โดยกำหนดเป็นโครงการนิเทศ มีระยะเวลาในการดำเนินงาน สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นิเทศจะต้องรับรูเมีส่วนร่วมในการติดตามผล ให้ความสนับสนุนและอำนวยความสะดวก
                 5. เน้นหลักประชาธิปไตยในการนิเทศ โดยครูจะมีเสรีภาพในการนิเทศ เลือกผู้นิเทศ เลือกคู่สัญญา เลือกเวลาในการปฏิบัติการนิเทศ เลือกบทเรียนที่จะสอน เลือกเครื่องมือสังเกตการสอน ในการนิเทศการสอน ครูสามารถเลือกวิธีการนิเทศตนเอง คือ สังเกตพฤติกรรมการสอนของตนเองแทนที่จะให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาหรือศึกษานิเทศก์เข้าไปสังเกตการสอนหรือถ้าหากครูมีความพร้อมใจ ต้องการให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน ครูก็สามารถเลือกหรือรับรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมือสังเกตการสอน จนเป็นที่พอใจและไม่มีความวิตกกังวลต่อผลของการใช้เครื่องมือสังเกตการสอนนั้นๆ
                  6. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ผู้นิเทศต้องไม่สร้างภาพพจน์ในการวัดผลหรือประเมินผลการสอน แต่จะเป็นการบันทึกและอธิบายภาพที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่าผู้สอนมีพฤติกรรมอย่างไร มากน้อยเท่าใด ไม่ใช่ดีหรือไม่ดีอย่างไรเพราะไม่ต้องการให้ครูเกิดความรู้หวั่นกลัวการประเมินและวิตกกังวลต่อปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศ
                  7. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาจะเน้นที่การสังเกตตนเองเชิงเน้นวัตถุประสงค์เป็นหลัก โดยมีเครื่องมือสังเกตการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการนิเทศซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ส่วนการสังเกตการสอนโดยคู่สัญญาหรือผู้นิเทศอื่น ๆ เช่น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือศึกษานิเทศก์ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเป็นความต้องการของครูผู้นั้น 
                  8. การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนของครู จะต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสอนไม่ใช่จากความคิดเห็นส่วนตัว ค่านิยม หรือประสบการณ์ของผู้นิเทศเอง
                  9. การใช้ข้อมูลป้อนกลับหลังจากการสังเกตการสอน และการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนผู้นิเทศจะใช้เทคนิคนิเทศทางอ้อม เพื่อพัฒนาให้ครูสามารถวางแผนการสอนได้เอง วิเคราะห์การสอนของตนเองได้ ประเมินผลการสอนของตนเองได้ และสามารถนิเทศตนเอวได้ในที่สุด
                10. การปฏิบัติการนิเทศ ยึดหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม คือ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำงานร่วมกันทั่งกระบวนการ ตั้งแต่การหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศด้วยความเสมอภาคกัน ยอมรับ ยกย่อง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในฐานะผู้ร่วมวิชาชีพ 
                 11.ในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติการในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความสุขในวิชาชีพ มีพลังที่จะแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงาน แลละมีความพึงพอใจที่จะนำข้อนิเทศไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง 
                  12. การนิเทศแบบร่วมพัฒนา เป็นการนิเทศที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

การประเมินและการวัดอิงมาตรฐาน


การประเมินและการประเมินผล  มีความหมายทำนองเดียวกับ  การวัดและการวัดผล ดังนี้

          การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ  เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง  ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80 ขึ้นไป  อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน         
          การประเมินผล  มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน  แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
            สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำ  ที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation  และ  assessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกัน  คือ
            evaluation  เป็นการประเมินตัดสิน  มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria)  เช่น ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ตัดสินว่าอยู่ในระดับดี  ได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้  ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุง  evaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆ ไป  เช่น  การประเมินโครงการ (Project Evaluation)  การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
            assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ  ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่น เทียบกับผลการประเมินครั้งก่อน  เทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน assessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การประเมินตนเอง  (Self Assessment)