ภาคผนวก
การจัดการเรียนรู้ (รูปแบบการเรียนการสอน
และการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดการชั้นเรียน (การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน)
รูปแบบการเรียนการสอน
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
1.1 ความหมายของรูปแบบ (Model)
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม
ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด หนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม
หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาคําตอบความรู้
ความเข้าใจ ในปรากฎการณ์ทั้งหลาย ปกติการศึกษาวิจัยเรื่องใดๆ ก็ตาม
ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคําถามที่ต้องการคําตอบ ซึ่ง
ในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมติฐานหรือชุดของสมมติฐานขึ้นมา
ซึ่งก็คือคําตอบที่คาดคะเนไว้ ล่วงหน้า
สมมติฐานเหล่านี้มักจะได้มาจากข้อความรู้หรือข้อค้นพบที่ผ่านมา หรืออาจจะเกิดจาก
ประสบการณ์หรือการหยั่งรู้ (intuition) ของผู้ศึกษาวิจัยหรืออาจจะเกิดจากทฤษฎีหลักการต่างๆ
สมมติฐานเป็นข้อความที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหรือตัวแปรต่างๆ
ของเรื่อง สถานการณ์ปัญหานั้นๆ
ซึ่งจะยังคงเป็นเพียงเครื่องมือในการแสวงหาคําตอบนั้นๆ ซึ่งจะยังคงเป็นเพียง
เครื่องมือในการแสวงหาคําตอบเท่านั้นจนกว่าจะได้รับการนําไปพิสูจน์ทดสอบ
หากสมมติฐานเป็นจริง ข้อความนั้นจะสามารถนําไปใช้ในการทํานาย
หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ ได้ รูปแบบเช่นเดียวกันกับ
สมมติฐานที่บุคคลอาจสร้างขึ้นจากความคิด ประสบการณ์ การใช้อุปมาอุปไมย
หรือจากทฤษฎีและ หลักการต่างๆ ได้ แต่รูปแบบไม่ใช่ทฤษฎี ดีฟส์ (Keeves J., 1997 : 386 387) รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมี องค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction)
ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ
สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal
relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination)
ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations)
รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structural
relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative
relationships)
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี
4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึง
ใน Keeves, 1997 : 386 387)
1.
รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงออกในลกย 4 ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป
รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
2.
รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่
ความคิดแสดงออกผ่านทางการใช้ภาษา (พูดและเขียน)
รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3.
รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร คณิตศาสตร์
ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4.
รูปแบบเชิงแผนผัง (Schematic Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแผนผัง แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5.
รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่
ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์
ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็นแบบนี้ เป็นส่วนใหญ่
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบทางด้านศึกษาศาสตร์
มักจะเป็นรูปแบบเชิงสาเหตุ
และการใช้คําว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความหมายในลักษณะเดียวกันกับระบบการเรียนการสอน
หากพิจารณาตามนัยของคุณสมบัติอันเป็นองค์ประกอบสําคัญ กล่าวคือ
เป็นลักษณะของการเรียนการ สอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา ทฤษฎี
หลักการ หรือความเชื่อต่างๆ โดยมีความ ครอบคลุมองค์ประกอบที่สําคัญๆ
ของการศึกษาหรือการเรียนการสอนในภาพรวมและนิยมใช้คําว่า “รูปแบบ”
กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีการสอน” นั่นเอง
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงสามารถให้คํานิยามได้ว่า “รูปแบบการเรียนการสอน
คือ สภาพ ลักษณะ
ของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
ตามหลัก ปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยประกอบด้วย
กระบวนการหรือขั้นตอนสําคัญ ในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ
ที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอน นั้นเป็นไปตามทฤษฎี
หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ หรือยอมรับว่ามี ประสิทธิภาพ
สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบ นั้นๆ”
ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนจึงจําเป็นต้องมีองค์ประกอบสําคัญๆ ดังนี้
ก. มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด
หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบ การสอนนั้นๆ
ข. มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ
หลักการที่ยึดถือ
ค มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบ คือ
มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพัน
มของระบบให้สามารถนําผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนําผู้เรียนไปสู่เป้าหมา
ง.
มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ อันจะช่วยให้
กระบวนการเรียนการสอนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รูปแบบการเรียนการสอนจะต้องได้รับการพิสูจน์ทดสอบ
สามารถทํานายผลที่จะเกิดตามมา ได้ และมีศักยภาพในการสร้างความคิดรวบยอดและความสัมพันธ์ใหม่ๆ
ได้
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนและระบบการเรียนก
ในการจัดระบบใดๆ ก็ตาม
ย่อมต้องมีการกําหนดองค์ประกอบและจัดองค์ประกอบของ
ระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดี เพื่อนําไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ
ซึ่งอาจจะจัดในกรอบความคิดของ ตัวป้อน กระบวนการกลไกควบคุม ผลผลิต
และข้อมูลป้อนกลับ หรือจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ของระบบนั้นให้เป็นไปตามลําดับขั้นตอนที่จะช่วยให้ระบบนั้นมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นระบบการจัดการ เรียนการสอนก็คือ องค์ประกอบต่างๆ
ของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดไว้ให้มีความสัมพันธ์และ ส่งเสริมกันอย่างเป็นระเบียบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กําหนดไว้ ระบบการจัดการ
เรียนการสอนเป็นระบบย่อยของระบบการศึกษา และอาจจัดได้ในลักษณะที่เป็นระบบใหญ่
คือเป็นระบบ ที่ครอบคลุมองค์ประกอบของการเรียนการสอนมาจัดเป็นระบบย่อยๆ ลงไปอีกก็ได้
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนั้น หมายถึง
“สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการ สอนนั้น อย่างเป็นระบบระเบียบตามหลักปรัชญา
ทฤษฎี หลัก แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัด
กระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ
เข้าไปช่วยทํา ให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ
และได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามี ประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนได้”
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า
กระบวนการจัดการเรียนการสอนใดจะกลายเป็นรูปแบบได้นั้น
ก็จะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่างๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งก็แน่นอนว่าในการจัดระบบจะต้อง
คํานึงถึงทฤษฎีและหลักการรวมทั้งสภาพการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นระบบจะจัดการเรียนการสอนกับ
รูปแบบการเรียนการสอนจึงมีความหมายที่แท้จริงตรงกันในสาระหลักที่สําคัญด้วยเหตุนี้
เราจึงมักเห็น การใช้คํา 2 คํานี้สลับทดแทนกันบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคําทั้งสองจะมีความในสาระหลักเหมือนกัน
แต่ถ้าสังเกตและ วิเคราะห์จากการใช้กันโดยทั่วๆ ไปแล้วจะเห็นได้ว่า
มีความนิยมในการใช้แตกต่างกันไปบ้าง ดังที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้นว่า
“ระบบการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบย่อยของระบบการศึกษา และอาจจัดได้ใน
ณะที่เป็นระบบใหญ่ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบย่อยๆ
ของการเรียนการสอนมาจัดเป็นระบบย่อยๆ ลงไปอีกก็ได้”
จากการสังเกตและวิเคราะห์ผลงานของนักการศึกษาผู้ค้นคิดระบบและรูปแบบการจัดการ
เรียนการสอนต่างๆ พบว่า นักศึกษานิยมใช้คําว่า “ระบบ ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่
เช่น ระบบ การศึกษา หรือถ้าเป็นระบบการเรียนการสอนมาเป็นระบบการเรียนการสอน
ก็จะครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญๆ ของการเรียนการ สอนในภาพรวม และนิยมใช้ คําว่า
“รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ
“วิธีสอน”ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยที่สําคัญของระบบการเรียนการสอน
ดังนั้นการนําวิธีการเรียนการสอนใดๆ
มาจัดทําอย่างมีระบบตามหลักและวิธีการจัดระบบแล้ว
วิธีการสอนนั้น ก็จะกลายเป็น “ระบบวิธีสอน หรือที่นิยมเรียกว่า
“รูปแบบการเรียนการสอน”
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ระบบการจัดการเรียนการสอน
กับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนน มีความหมายเหมือนกัน
แต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อย ระบบการจัดการเรียนการ
สอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญของการเรียนการสอนในภาพรวม ส่วน
รูปแบบการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า เช่น ระบบวิธีสอนแบบต่างๆ
ซึ่งในหัวข้อต่อไปจะ เสนอตัวอย่างระบบวิธีสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆ
ที่สําคัญเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจขึ้น
และช่วยให้แนวทางที่จะจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่งผู้เขียนได้คัดเลือกมากล่าวในบทนี้ล้วนได้รับการ
พิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้ว และมีผู้นิยมนําไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป
แต่เนื่องจาก รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจํานวนมาก
เพื่อความสะดวกในการศึกษาและนําไปใช้ ผู้เขียนจึงได้
จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ
ซึ่ง สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive
domain)
2.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective
domain)
3.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho
- motor domain)
4.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process
skills)
5.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration)
เนื่องจากจํานวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมีมากเกินกว่าที่จะนําเสนอไว้ใน
ที่นี้ได้ทั้งหมด ผู้เขียนจึงได้คัดสรร
และนําเสนอเฉพาะรูปแบบที่ผู้เขียนประเมินว่า เป็นรูปแบบที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อครูส่วนใหญ่และมีโอกาสนําไปใช้ได้มาก
โดยผู้เขียนจะเสนอเฉพาะสาระที่เป็นแก่นสําคัญ ของรูปแบบ 4 ประการ คือ ทฤษฎีหรือหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
กระบวนการของ รูปแบบ และผลที่จะได้รับจากการใช้รูปแบบ
ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมของรูปแบบ อันจะช่วยให้
ตัดสินใจในเบื้องต้นได้ว่าแบบใดมีลักษณะตรงกับความต้องการของตน
หากตัดสินใจแล้วต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติมในรูปแบบใด สามารถนําไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือซึ่งให้ราย
ๆ มา บรรณานุกรม
อนึ่ง รูปแบบการเรียนการสอนที่นําเสนอนี้
ล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีลักษณะ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น
เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงจุดของด้านที่ต้องการพัฒนาในตัวผู้เรียน และปริมาณของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีมากน้อยแตกต่าง
อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านพึงระลึกอยู่เสมอว่า
แม้รูปแบบแต่ละหมวดหมู่จะมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน ก็มิได้หมายความว่า รูปแบบนั้นไม่ได้ใช้หรือพัฒนาความสามารถทางด้านอื่นๆ
เลย อันที่จริงแล้วการสอนแต่ละครั้ง
มักประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางด้านพุทธิพิสัย
จิตพิสัย และทักษะพิสัย รวมทั้งทักษะกระบวนการ ทางสติปัญญา
เพราะองค์ประกอบทั้งหมดมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบ
เป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่า
รูปแบบนั้นมีวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นไปทางหนึ่งเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่นๆ
ก็ยังคงมีอยู่เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเน้นเท่านั้น
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียน
เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่างๆ
ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด
รูปแบบที่คัดเลือกมานําเสนอในที่นี้มี 5 รูปแบบดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา 1.5
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล
(Joyce
& Weil, 1996 : 161 - 178) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นโดยใช้
แนวคิดของบรุนเนอร์ยึดนาว และออสติน (Bruner, Goodnow, and Austin) เกี่ยวกับการเรียนรู้มโนทัศน์ Ñ 21 “Concept attainment is the
search for and listing of attributes that can be used to distinguish exemplars
from nonexemplars of various categories” (Bruner et al., 1967: 233) ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้มโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น
สามารถทําได้โดยการค้นหาคุณสมบัติ เฉพาะที่สําคัญของสิ่งนั้น
เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจําแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้
ข.
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ของเนื้อหาสาระต่างๆ
อย่างเข้าใจ และ สามารถให้คํานิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง
ค.
กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ
ขั้นที่ 1
ผู้สอนเตรียมข้อมูลสําหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจําแนก
1. ผู้สอนเตรียมข้อมูล
2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
อีกชุดหนึ่งไม่ใช้ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
2. ในการเลือกตัวอย่างข้อมูล
2 ชุดข้างต้น
ผู้สอนจะต้องเลือกหาตัวอย่างที่มีจํานวนมากพอที่จะครอบคลุม ลักษณะของมทัศน์ที่ต้องการนั้น
3. ถ้ามโนทัศน์ที่ต้องการสอนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมอาจใช้วิธีการยกเป็นตัวอย่างเรื่องสั้นๆ
ที่ผู้สอนแต่งขึ้นเองนําเสนอแกผู้เรียน
4.
ผู้สอนเตรียมสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้ประกอบการนําเสนอตัวอย่าง
มโนทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะต่างๆ
ของมโนทัศน์ที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 2
ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน ผู้สอนชี้แจง
วิธีการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนเริ่มกิจกรรม
โดยอาจสาธิตวิธีการและให้ผู้เรียนลองทําตามที่ผู้สอนบอล
จนกระทั้งผู้เรียนเกิดความเข้าใจพอสมควร
ขั้นที่
3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช้
ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
การนําเสนอข้อมูลตัวอย่างนี้ทําได้หลายแบบแต่ละแบบมีจุดเด่น
จุดด้อย
ดังต่อไปนี้
1.
นําเสนอข้อมูลที่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนทีละข้อมูลจนหมดทั้งชุด
โดย บอกให้ผู้เรียนรู้ว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนแล้วตามด้วยการเสนอข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะ
สอนทีละข้อมูล
จนครบหมดทั้งชุดเช่นกันโดยบอกให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวอย่างชุดหลังนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสอน
ผู้เรียนจะต้องสังเกตตัวอย่างทั้ง 2 ชุด
และคิดหาคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เทคนิควิธีนี้
สามารถช่วยให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ได้เร็ว แต่ใช้กระบวนการคิดน้อย
2.
เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนสลับกันไปจนครบ
เทคนิค
วิธีนี้จะช่วยสร้างมโนทัศน์ได้ช้ากว่าเทคนิคแรกแต่ได้ใช้กระบวนการคิดมากกว่า
3.
เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วเสนอ ข้อมูลที่เหลือทั้งหมดทีละข้อมูล
โดยให้ผู้เรียนตอบว่าข้อมูลแต่ละข้อมูลที่เหลือนั้นใช่หรือไม่ใช่ตัวอย่างที่ จะสอน
เมื่อผู้เรียนตอบ ผู้สอนจะเฉลยว่าผู้เรียนตอบถูกหรือผิด
วิธีนี้ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิดใน การทดสอบสมมติฐานของตนไปทีละขั้นตอน
4.
เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วให้ผู้เรียน
ช่วยกันยกตัวอย่างข้อมูลที่ผู้เรียนคิดว่าใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอน
โดยผู้สอนจะเป็นผู้ตอบว่าใช่หรือ ไม่ใช่วิธีนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสคิดมากขึ้นอีก
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอน
จากกิจกรรมที่ผ่านมาในขั้นต้นๆ
ผู้เรียนจะต้องพยายามหาคุณสมบัติเฉพาะของ
ตัวอย่างที่ใช่และไม่ใช่สิ่งที่ผู้สอนต้องการสอนและทดสอบคําตอบของตน
หากคําตอบของตนผิด ผู้เรียน ก็จะต้องหาคําตอบใหม่
ซึ่งก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนสมมติฐานที่เป็นของคําตอบเดิม ด้วยวิธีนี้ผู้เรียนจะ
ค่อยๆ สร้างความคิดรวบยอดของสิ่งนั้นขึ้นมา
ซึ่งก็มาจากคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นนั่นเอง
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คําจํากัดความของสิ่งที่ต้องการสอน
เมื่อผู้เรียนได้ รายการของคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอนแล้ว ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันเรียบเรียงให้เป็นคํานิยาม
หรือคําจํากัดความ
ขั้นที่ 6
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการหาคําตอบให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตัวเอง
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด
วิเคราะห์ และตัวอย่างที่ หลากหลาย ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ
จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะ การใช้มโนทัศน์
ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการทําความเข้าใจมโนทัศน์อื่นๆ ต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนา
ทักษะการใช้เหตุผลโดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne's Instructional
Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
กานเย่ (Gagne, 1985 : 70 - 90) ได้พัฒนาทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้
(Conditions of Learning) ซึ่งมี 2
ส่วนใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้
ของกานเยอธิบายว่า ปรากฏการณ์การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 2
ส่วนคือ
1.
ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภท คือ ทักษะทางปัญญา (intellectual skills) ซึ่งประกอบด้วยการจําแนกแยกแยะ
การสร้างความคิดรวบยอด การ สร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
ความสามารถด้านต่อไปคือ กลวิธีในการเรียนรู้ (cognitive strategy) ภาษาหรือคําพูด (verbal information) ทักษะการเคลื่อนไหว
(motor skills) และเจตคติ(attitudes)
2.
กระบวนการเรียนรู้และการจดจําของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดการกับ
ข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
และขณะที่กระบวนการจัดกระทําข้อมูลภายใน สมองกําลังเกิดขึ้น
เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการเรียนรู้ที่
เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน การ์เย่จึงได้สรุปแนะว่า
ควรมีการจัดสภาพการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน
และส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง
โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของ ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ได้อย่างดี
รวดเร็ว และสามารถ จดจําสิ่งที่เรียนได้นาน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามรูปแบบของกานเย
ประกอบด้วยการดําเนินการเป็นลําดับ ขั้นตอนรวม 9 ขั้น
ดังนี้
ขั้นที่ 1
กระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับ
สิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะเรียนรู้ได้
ขั้นที่ 2
การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็นการช่วยให้ผู้เรียน
ได้รับรู้ความคาดหวัง
ขั้นที่ 3
การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม เป็นการช่วยให้ผู้เรียนดึงข้อมูลเดิมที่อยู่
ในหน่วยความจําระยะยาวให้มาอยู่หน่วยความจําเพื่อการใช้งาน (Working
memory) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้
หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อช่วยให้
ผู้เรียนสามารถทําความเข้าใจกับสาระที่เรียนได้ง่ายและเร็วขึ้น
ขั้นที่ 6
การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสาระที่เรียน
ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ
เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน และข้อมูลที่ เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน
ขั้นที่ 2
การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเอง
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด
ขั้นที่ 9
การเสริมสร้างความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้โดยการให้โอกาส
ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนอย่างเพียงพอและในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ขึ้น และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่นๆ
ได้
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้
จัดขึ้นให้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และจดจําของมนุษย์ ดังนั้น
ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้สาระที่นําเสนอได้อย่างดี รวดเร็ว และจดจําสิ่งที่
เรียนรู้ได้นาน นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เพิ่มพูนทักษะในการจัดระบบข้อมูล
สร้างความหมายของข้อมูล รวมทั้งการแสดงความสามารถของตนด้วย
1.3 รูปแบบการเรียนการสอน โดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance
Organizer Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล (Joyce and Well, 1996 : 295 –
278) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้น โดย แนวคิดของออซูเบล (Ausubel) เกี่ยวกับการนําเสนอมโนทัศน์ล่วงหน้า (Advanced Organizer) เพื่อการ เรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful verbal learning) ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายเมื่อสิ่งที่
เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียน ดังนั้นในการสอนสิ่งใหม่
สาระความรู้ใหม่ ผู้สอนควร วิเคราะห์หาความคิดรวบยอดย่อยๆ ของสาระที่จะนําเสนอ
จัดทําผังโครงสร้างของความคิดรวบยอด
1
แล้ววิเคราะห์หามโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่กว้างครอบคลุมความคิดรอบยอดย่อยๆ
ที่ สอน
หากครูนําเสนอมโนทัศน์ที่กว้างดังกล่าวแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใหม่
ขณะที่ผู้เรียนกําลัง
เรียนรู้สาระใหม่
ผู้สอนจะสามารถนําสาระใหม่นั้นไปเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้
ล่วงหน้าแล้ว ทําให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายแก่ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระ ข้อมูลต่างๆ
อย่างมีความหมาย
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 1 การจัดเตรียมโนทัศน์กว้าง
ครูจัดเตรียมมโนทัศน์กว้าง
โดยการวิเคราะห์หามโนทัศน์ที่กว้าง และครอบคลุม ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระใหม่ทั้งหมด
มโนทัศน์ที่กว้างนี้ จะไม่ใช่สิ่งเดียวกับ มโนทัศน์ของ สาระใหม่ที่จะสอน
แต่เป็นมโนทัศน์ในระดับที่เหนือขึ้นไป หรือสูงกว่า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรม
มากกว่า ปกติมันจะเป็นมโนทัศน์ของวิชานั้นหรือสายวิชานั้น การนําเสนอมโนทัศน์กว้างนี้ล่วงหน้าก่อน
การสอน จะเป็นเหมือนการ “preview” บทเรียน
ซึ่งจะเป็นคนละอย่างกับ “overview” หรือการให้ดู
ภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การนําเสนอภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การทบทวนความรู้เดิม
การซักถาม ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน การบอกวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
เหล่านี้ ไม่นับว่าเป็น “advance organizer” ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่กว้าง
ครอบคลุม และมีความเป็น นามธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าสิ่งที่จะสอน (higher
level of abstraction)
ขั้นที่ 2 การนําเสนอมโนทัศน์กว้าง
1.ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ผู้สอนนําเสนอมโนทัศน์กว้าง ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
การบรรยายสั้นๆ แสดง แผนผังมโนทัศน์ ยกตัวอย่าง หรือใช้การเปรียบเทียบ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การนําเสนอเนื้อหาสาระใหม่ของบทเรียน
ผู้นําเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
ตามปกติ แต่ ในการนําเสนอ
ผู้สอนควรกล่าวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์ที่ให้ล่วงหน้าไว้เป็นระยะๆ
ขั้นที่ 4 การจัดโครงสร้างความรู้
ผู้สอนส่งเสริมกระบวนการจัดโครงสร้างความรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น ส่งเสริมการผสมผสานความรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวในการเรียนรู้ และทําความกระจ่างในสิ่งที่เรียนรู้
โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น
1. อธิบายภาพรวมของเรื่องที่เรียน 2.
สรุปลักษณะสําคัญของเรื่อง 3. บอกหรือเขียนคํานิยามที่กะทัดรัดชัดเจน 4.
บอกความแตกต่างของสาระในแง่มุมต่างๆ
5. อธิบายว่าเนื้อหาสาระที่เรียน
สนับสนุนหรือส่งเสริมมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ ล่วงหน้าอย่างไร
6.
อธิบามายความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระใหม่กับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ล่วงหน้า
7. ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน 8.
อธิบายแก่นสําคัญของสาระที่เรียนโดยใช้คําพูดของตัวเอง
9. วิเคราะห์สาระในแง่มุมต่างๆ
ง.
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผลโดยตรงที่ผู้เรียนจะได้รับก็คือเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและข้อมูลของ
บทเรียนอย่างมีความหมาย เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้าง
ความรู้ของ ตนเองได้ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะและอุปนิสัยในการคิด
และเพิ่มพูนความใฝ่รู้
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา (Memory
Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดย จอยส์และวีล (Joyce
& Weil, 1996 : 209 - 231) โดย อาศัยหลัก 6 ประการ คือ
1. การตระหนักรู้ (awareness) ซึ่งกล่าวว่า
การที่บุคคลจะจดจําสิ่งใดได้ดีนั้น จะต้องเริ่มจากการรับรู้สิ่งนั้น
หรือการสังเกตสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ
2. การเชื่อมโยง (association) กับสิ่งที่รู้แล้วหรือจําได้
3. ระบบการเชื่อมโยง (link system) คือระบบในการเชื่อมความคิดหลายความคิด
เข้าด้วยกันในลักษณะที่ความคิดหนึ่งจะไปกระตุ้นให้สามารถจําอีกความคิดหนึ่งได้
4. การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน (ridiculous
association) การเชื่อมโยงที่จะช่วยให้ บุคคลจดจําได้ดีนั้น
มักจะเป็นสิ่งที่แปลกไปจากปกติธรรมดา การเชื่อมโยงในลักษณะที่แปลก เป็นไป ไม่ได้
ชวนให้ขบขัน มักจะประทับในความทรงจําของบุคคลเป็นเวลานาน
5. ระบบการใช้คําทดแทน
6. การใช้คําสําคัญ (key Word) ได้แก่
การใช้คํา อักษรหรือพยางค์เพียงตัวเดียว เพื่อช่วยกระตุ้นให้จําสิ่งอื่นๆ
ที่เกี่ยวกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน
และได้เรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ ได้อีก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระใดๆ
ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหา สาระนั้นได้ดีและนานโดยดําเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 การสังเกตหรือศึกษาสาระอย่างตั้งใจ
ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในสาระที่เรียน
โดยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ให้สีดเส้นใต้คําประเด็นที่สําคัญ
ให้ตั้งคําถามจากเรื่องที่อ่าน ให้หาคําตอบของคําถามต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การสร้างความเชื่อมโยง
เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาสาระที่ต้องการเรียนรู้แล้ว
ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ ที่ต้องการจดจํากับสิ่งที่ตนคุ้นเคย เช่น
กับคํา ภาพ หรือความคิดต่างๆ (ตัวอย่างเช่น เด็กจําไม่ได้ว่าค่าย บางระจัน
อยู่จังหวัดอะไร จึงโยงความคิดว่า ชาวบ้านบางระจันเป็นคนกล้าหาญ
สัตว์ที่ถือว่าเก่งกล้า คือ สิงโต บางระจันจึงอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี)
หรือให้หาหรือคิดคําสําคัญ ที่สามารถกระตุ้นความจําในข้อมูล อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สูตร 4 M หรือทดแทนคําที่ไม่คุ้นหรือยากด้วยคํา
ภาพ หรือความหมายอื่น หรือ การใช้คําเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 3 การใช้จินตนาการ
เพื่อให้จดจําสาระได้ดีขึ้น
ให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการเชื่อมโยงสาระต่างๆ ให้เห็นเป็น ภาพที่น่าขบขัน
เกินความเป็นจริง
ขั้นที่ 4 การใช้เทคนิคต่างๆ
ที่ทําไว้ข้างต้น ในการทบทวนความรู้และเนื้อหาสาระ ต่างๆ จนกระทั่งจดจําได้
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนโดยใช้เทคนิคช่วยความจําต่างๆ ของรูปแบบ
นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถจดจําเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เรียนได้ดีและได้นานแล้ว
ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ
ได้อีกมาก
1.5 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer
Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
โจนส์และคณะ (Jones et al., 1989 : 20 – 25)
คล้าก (Clarke, 1991 : 526 – 534) จอยส์และคณะ
(Joyce et al., 1992 : 159 - 165) ได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกขึ้น
โดยใช้ แนวคิดทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information
Processing Theory) ซึ่งกล่าวว่า
กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบสําคัญ 3
ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ความจําข้อมูล (information storage) กระบวนการทางปัญญา
(cognitive processes) และ เมตาคอคนชัน (metacognition)
ความจํา ข้อมูลประกอบด้วย ความจําจากความรู้สึกสัมผัส (sensory
memory) ซึ่งเป็นความจําที่เกิดขึ้นหลังจากการ
ตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว และจะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที ความจําประเภทนี้ทําหน้าที่ ในการคิด (mental operation) ส่วนความจําระยะยาว (long term memory) เป็นความจําที่มีความคงทน
มี ขนาดความจุไม่จํากัด สามารถคงอยู่เป็นเวลานาน
เมื่อต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้ สิ่งที่อยู่ในความจำระยะยาวมี 2 ลักษณะ คือ ความจําเหตุการณ์ (episodic memory) และความจําความหมาย
(semantic
memory) เกี่ยวกับข้อเท็จจริงมโนทัศน์ กฎ หลักการต่างๆ
องค์ประกอบด้านความจําข้อมูลนี้จะ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้นซึ่งประกอบด้วย
ก. การใส่ใจ (attention) หากบุคคลมีความใส่ใจในข้อมูลที่รับเข้ามาทางการสัมผัส
(sensory memory) ข้อมูลนั้นก็จะถูกนําเข้าไปสู่ความจําระยะสั้น
(short term memory) ต่อไป หากไม่ได้ รับการใส่ใจ
ข้อมูลนั้นก็จะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว
ข. การรับรู้ (perception) เมื่อบุคคลใส่ใจในข้อมูลใดที่รับเข้ามาทางประสาท
สัมผัส บุคคลนั้นก็จะรับรู้ข้อมูลนั้น และนําข้อมูลนี้เข้าสู่ความจําระยะสั้นต่อไป
ข้อมูลที่รับรู้นี้ จะเป็น ความจริงตามการรับรู้ (perceived reality) ของบุคคลนั้น ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงเชิงปรนัย (objective reality) เนื่องจากเป็นความจริงที่ผ่านการตีความจากบุคคลนั้นมาแล้ว
ค. การทําซ้ํา (rehearsal) หากบุคคลมีกระบวนการรักษาข้อมูล
โดยการทบทวนซ้ํา แล้วซ้ําอีก ข้อมูลนั้นก็ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในความปฏิบัติการ
ง. การเข้ารหัส (encoding) หากบุคคลมีกระบวนการสร้างตัวแทนทางความคิด
(mental representation) เกี่ยวกับข้อมูลนั้น
โดยมีการนําข้อมูลนั้นเข้าสู่ความจําระยะยาวและเชื่อมโยงเข้า
กับสิ่งที่มีอยู่แล้วในความจําระยะยาว การเรียนรู้อย่างมีความหมายก็จะเกิดขึ้น
จ. การเรียกคืน (retrieval) การเรียกคืนข้อมูลที่จําไว้ในความจําระยะยาว
เพื่อนํา ออกมาใช้ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเข้ารหัส
หากการเข้ารหัสทําให้เกิดการเก็บจําได้ดี มีประสิทธิภาพ
การเรียกคืนก็จะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
ด้วยหลักการดังกล่าว การเรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคล
ซึ่งต้องใช้ กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 4
ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน (selecting
relevant information) และ 2. การจัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง
(coherent structure) รวมทั้ง 3. การบูรณาการข้อมูล
(integrating) และ 4. การเข้ารหัส (encoding)
ข้อมูลการเรียนรู้ เพื่อให้คงอยู่ใน ความจําระยะยาว
และสามารถเรียกคืนมาใช้ได้โดยง่าย (Mayer, 1984 : 30 – 33) ด้วยเหตุนี้
การให้ผู้เรียน มีโอกาสเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้างความรู้เดิมๆ
และนําความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือสร้าง
ตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อตนเองขึ้น
จะส่งผลให้การเรียนรู้นั้นคงอยู่ในความจําระยะยาว และ สามารถเรียกคืนมา
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและ
ามเข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้
และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การจดจํา
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก มีหลายรูปแบบ
ในที่นี้จะนําเสนอไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ โจนส์และคณะ
(1989 : 20-25) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญๆ 5 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1.1.
ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและ วัตถุประสงค์
1.2. ผู้สอนแสดงวิธีการสร้างผังกราฟิก 1.3.
ผู้สอนชี้แจงเหตุผลของการใช้ผังกราฟิกนั้นและอธิบายวิธีการใช้
1.4.
ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทําความเข้าใจเนื้อหาเป็น รายบุคคล
1.5. ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนําเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของคล้าก (Clark,
1991 : 526 - 534) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญ ๆ
ดังนี้
ก. ขั้นก่อนสอน
2.1
ผู้สอนพิจารณาลักษณะของเนื้อหาที่จะสอนสาระนั้นและวัตถุประสงค์
ของการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
2.2
ผู้สอนพิจารณาและคิดหาผังกราฟิกหรือวิธีหรือระบบในการจัดระเบียบ เนื้อหาสาระนั้นๆ
2.3 ผู้สอนเลือกตั้งกราฟิก
หรือวิธีการจัดระเบียบเนื้อหาที่เหมาะสมที่สุด
2.4
ผู้สอนคาดคะเนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในการใช้ผังกราฟิกนั้น ข. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาสาระแก่ผู้เรียน
2.2
ผู้เรียนทําความเข้าใจเนื้อหาสาระและนําเนื้อหาสาระใส่ลงในผังกราฟิก
ตามความเข้าใจของตน
2.3 ผู้สอนซักถาม
แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้เรียนหรือขยายความเพิ่มเติม
2.4 ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติม โดยนําเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหา แล้วให้ผู้เรียนใช้ผังกราฟิกเป็นกรอบในการคิดแก้ปัญหา
2.5 ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของจอยส์และคณะ (Joyce
et al., 1992 : 159 - 161)
จอยส์และคณะ
นํารูปแบบการเรียนการสอนของคล้ากมาปรับใช้โดยเพิ่มเติม ขั้นตอนเป็น 8 ขั้น ดังนี้
3.1 ผู้สอนชี้แจงจุดมุ่งหมายของบทเรียน
3.2 ผู้สอนนําผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3.3 ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม
เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับความรู้ใหม่
3.4 ผู้สอนเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.5 ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิกและให้ผู้เรียนนําเนื้อหา
สาระใส่ลงในผังกราฟิกตามความเข้าใจของตน
3.6 ผู้สอนให้ความรู้เชิงกระบวนการ โดยชี้แจงเหตุผลในการใช้ผังกราฟิก และ
วิธีใช้ผังกราฟิก
3.7 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา
3.8 ผู้สอนซักถาม ปรับความเข้าใจและขยายความเข้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ
เข้าใจกระจ่างชัด
4.
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของสุปรียา ตันสกุล (2540
: 40)
สุปรียา ตันสกุล ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
“ผลของการใช้รูปแบบการสอนแบบการจัด ข้อมูลด้วยแผนภาพ (Graphic
Organizers) ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถในการ
แก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถทางการ
แก้ปัญหาสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 รูปแบบการเรียนการ สอนดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 7 ขั้นตอน ดังนี้
4.1 การทบทวนความรู้เดิม
4.2 การชี้แจงวัตถุประสงค์ ลักษณะของบทเรียน ความรู้ที่คาดหวังให้เกิดแก่
ผู้เรียน
4.3 การกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความรู้เดิม
เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับสิ่งที่เรียนและการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ
4.4 การนําเสนอตัวอย่างการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพที่เหมาะสมกับ
ลักษณะของเนื้อหา ความรู้ที่คาดหวัง
4.5 ผู้เรียนรายบุคคลทําความเข้าใจเนื้อหาและฝึกใช้แผนภาพ
4.6 การนําเสนอปัญหาให้ผู้เรียนใช้แผนภาพเป็นกรอบในการแก้ปัญหา
4.7 การทําความเข้าให้กระจ่างชัด
ง.
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน
และจดจําสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีในการเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้การใช้กราฟิกในการเรียนรู้ต่างๆ
ซึ่งผู้เรียนสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้อีกมาก
2.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Affective
Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้
เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม
คุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนา หรือปลูกฝัง การ
จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จําเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม
รูปแบบที่คัดสรรมานําเสนอ ในที่นี้มี 4 รูปแบบดังนี้
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของ แครทโวลบลม
และมาเซีย
2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน 2.3
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ 2.4
รูปแบบการเรียนการสอนโดยวิธีทําความกระจ่างในค่านิยม
2.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวลบลูม
และมาเซีย (Instructional Model Based on Affective Domain by Krathwohl,
Bloom and Masia)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
แครทโวลบลมและมาเซีย (Bloom, 1956) ได้จําแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
ออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านความรู้ (cognitive domain) ด้านเจตคติหรือความรู้สึก (affective domain) และ
ด้านทักษะ (psychomotor domain) ซึ่งในด้านเจตคติหรือความรู้สึกนั้น
บลูม ได้จัดลําดับขั้นตอนของการ เรียนรู้ ไว้ 5 ขั้นตอน
1.
ขั้นการรับรู้ (receiving or attending) ซึ่งก็หมายถึงการที่ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมที่
ต้องการจะปลูกฝังในตัวผู้เรียน
2.
ขั้นการตอบสนอง (responding) ได้แก่
การที่ผู้เรียนได้รับรู้และเกิดความสนใจ ในค่านิยมนั้น
แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น แล้วมีโอกาสได้ตอบสนองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
3.
ขั้นการเห็นคุณค่า (valuing) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยม
นั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น ทําให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น
4.
ขั้นการจัดระบบ (organization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับค่านิยมที่ตนเห็นคุณค่านั้น
เข้ามาอยู่ในระบบค่านิยมของตน
5.
ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (characterization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตนตาม
ค่านิยมที่ตนรับมาอย่างสม่ําเสมอและทําจนเป็นนิสัย
ถึงแม้ว่าบลูมได้เสนอแนวคิดดังกล่าวเพื่อใช้ในการกําหนดวัตถุประสงค์
ในการเรียนการสอนก็ตาม
แต่ก็สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยปลูกฝังค่านิยม
ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
อข่ายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้สึก/เจตคติ/ค่านิยม
คุณธรรม หรือ จริยธรรม ที่พึงประสงค์
อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การสอนเพื่อปลูกฝังค่านิยมใดๆ ให้แก่ผู้เรียน
สามารถดําเนินการตามลําดับขั้น ของวัตถุประสงค์ทางด้านเจตคติของ
บลูมได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรับรู้ค่านิยม (receiving/attending)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ในค่านิยมนั้นอย่าง
ใส่ใจ เช่น เสนอกรณีตัวอย่างที่เป็นประเด็นปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับค่านิยมนั้น
คําถามที่ท้าทายความคิด เกี่ยวกับค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การรู้ตัว (awareness)
2. การเต็มใจรับรู้ (wilingness)
3. การควบคุมการรับรู้ (control)
ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อค่านิยม (responding)
ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองต่อค่านิยมนั้นในลักษณะใด
ลักษณะหนึ่ง เช่น ให้พูดแสดงความคิดเห็นต่อค่านิยมนั้น ให้ลองทําตามค่านิยมนั้น
ให้สัมภาษณ์หรือ พูดคุยกับผู้ที่มีค่านิยมนั้น เป็นต้น
ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยินยอมตอบสนอง (acquiescence in responding)
2. การเต็มใจตอบสนอง (willingness to respond)
3. ความพึงพอใจในการตอบสนอง (satisfaction in
response)
ขั้นที่ 3 การเห็นคุณค่าของค่านิยม (valuing)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของค่านิยม
นั้น เช่น การให้ลองปฏิบัติตามค่านิยมแล้วได้รับการตอบสนองในทางที่ดี
เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตน หรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น
เห็นโทษและได้รับโทษจากการละเลยไม่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น เป็นต้น
ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยอมรับในคุณค่านั้น (acceptance of a value)
2. การชื่นชอบในคุณค่านั้น (preference for a
value)
3. ความผูกพันในคุณค่านั้น (commitment)
ขั้นที่ 4 การจัดระเบียบค่านิยม (organization)
เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของค่านิยมและเกิดเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น
และมีความโน้ม เอียงที่จะรับค่านิยมนั้นมาใช้ในชีวิตของตน
ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพิจารณาค่านิยมนั้นกับค่านิยม
หรือคุณค่าอื่นๆ
ของตน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมต่างๆ ของตน ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายาม
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การสร้างมโนทัศน์ในคุณค่านั้น (conceptualization
of value) 2. การจัดระบบคุณค่านั้น (organization of a value
system) ขั้นที่ 5 การสร้างลักษณะนิสัย (characterization by
value)
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมนั้นอย่างสม่ําเสมอ
โดยยึดตามผล การปฏิบัติ และให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรงเป็นระยะๆ
จนกระทั้งผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จน เป็นนิสัย
ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การมีหลักยึดในการตัดสินใจ (generalization
set) 2. การปฏิบัติตามหลักยึดนั้นจนเป็นนิสัย (characterization)
การดําเนินงานตามขั้นตอนทั้ง 5
ไม่สามารถทําได้ในระยะเวลาอันสั้น ต้องอาศัย เวลา โดยเฉพาะขั้นที่ 4 และ 5
ต้องการเวลาและประสบการณ์ ซึ่งอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปในผู้เรียน แต่ละคน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์จนถึงระดับที่สามารถปฏิบัติได้
จนเป็นนิสัย
นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เรียนรู้กระบวนการในการปลูกฝังค่านิยมให้เกิดขึ้น
ซึ่งผู้เรียน สามารถนําไปใช้ในการปลูกฝังค่านิยมอื่นๆ ให้แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป
2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน (Jurisprudential
Model)
ก. ทฤษฎีหลักการแนวคิดของรูปแบบ
จอยส์ และวีล (Joyce & Well, 1996 : 106 – 128) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากแนวคิด ของโอลิเวอร์และเชเวอร์ (Oliver
and Shaver) เกี่ยวกับการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในประเด็นปัญหา
ขัดแย้งต่างๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องค่านิยมที่แตกต่างกัน
ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัญหาทางสังคม หรือ ปัญหาส่วนตัว ที่ยากแก่การตัดสินใจ
การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ก็คือการสามารถเลือกทางที่เป็น ประโยชน์มากที่สุด
โดยกระทบต่อสิ่งอื่นๆ น้อยที่สุด
ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา
แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น วิเคราะห์หาค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังปัญหา
ประมวลข้อมูล ตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล และแสดงจุดยืนของตนได้
ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการซักค้าน อันเป็นกระบวนการที่ใช้กันในศาล
มาทดสอบผู้เรียนว่าจุดยืนที่ตนแสดงนั้นเป็นจัดยืนที่แท้จริงของตน หรือไม่
โดยการใช้คําถามซักค้านที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดย้อนกลับไปพิจารณาความคิดเห็นอันเป็นจุดยืนของ
ตน
ซึ่งอาจทําให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นหรือจุดยืนของตนหรือยืนยันจุดยืนของตนอย่างมั่นใจขึ้น
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้เหมาะสําหรับการสอนสาระที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาขัดแย้ง
ต่างๆ ซึ่งยากแก่การตัดสินใจ การสอนตามรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจอย่างชาญ
ฉลาด รวมทั้งวิธีการในการทําความกระจ่างในความคิดของตน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอกรณีปัญหา
ประเด็นปัญหาที่นําเสนอควรเป็นประเด็นที่มีทางออกให้คิดได้หลายคําตอบ
ควร เป็นประโยคที่มีคําว่า “ควรจะ...” เช่น
ควรมีกฎหมายให้มีการทําแท้งได้อย่างเสรีหรือไม่? ควรมีการจด
ทะเบียนโสเภณีหรือไม่? ควรออกกฎหมายห้ามคนสูบบุหรี่หรือไม่?
ควรอนุญาตให้นักเรียนประกวด นางงามหรือไม่? อย่างไรก็ควรหลีกเลี่ยงประเด็น
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน
วิธีที่นําเสนออาจจะทําได้หลายวิธี เช่น การอ่านเรื่องให้ฟัง
การให้ดูภาพยนตร์ การเล่าประวัติความเป็นมา
ครูต้องระลึกอยู่เสมอว่าการนําเสนอปัญหานั้นต้องทําให้นักเรียนได้รู้
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหารู้ว่าใครทําอะไร เมื่อไหร่ เพราะเหตุใด
และมีแง่มุมของปัญหาที่ขัดแย้ง กันอย่างไร
ให้ผู้เรียนประมวลข้อเท็จจริงจากกรณีปัญหาและวิเคราะห์หาค่านิยมที่เกี่ยวข้องกัน
ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงจุดยืนของตนเอง
ผู้เรียนเลือกจุดยืนของตนเองว่าจะเข้ากับฝ่ายใดและบอกเหตุผลของการเลือก ขั้นที่ 3
ผู้สอนซักค้านจุดยืนของผู้เรียน ผู้สอนใช้คําถามที่มีลักษณะดังตัวอย่างต่อไปนี้
3.1 ถ้ามีจุดยืนอื่นๆ ให้เลือกอีก
ผู้เรียนยังยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.2 หากสถานการณ์เปลี่ยนไป
ผู้เรียนยังจะยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.3 ถ้าผู้เรียนต้องเผชิญกับสถานการณ์อื่นๆ
จะยังยืนยันจุดยืนนี้หรือไม่
3.4. ผู้เรียนมีเหตุผลอะไรที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้น
จุดยืนนั้นเหมาะสมกับ สถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้นหรือไม่
3.5
เหตุการณ์ที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้นเป็นเหตุผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่หรือไม่
3.6 ผู้เรียนมีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนจุดยืนนั้นหรือไม่
3.7
ข้อมูลที่ผู้เรียนใช้เป็นพื้นฐานของจุดยืนนั้นถูกต้องหรือไม่
3.8 ถ้ายึดจุดยืนนี้แล้วผลที่เกิดขึ้นตามมาคืออะไร
3.9 เมื่อรู้ผลที่จะเกิดตามมาแล้ว
ผู้เรียนยังยืนยันที่จะยึดถือจุดนี้อีกหรือไม่
ขั้นที่ 4 ผู้เรียนทบทวนจุดยืนในค่านิยมของตนเอง
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยืนยันในค่านิยมที่ยึดถือ
ขั้นที่ 5
ผู้เรียนตรวจสอบและยืนยันจุดยืนใหม่-เก่าของตนอีกครั้ง และผู้เรียน
พยายามหาข้อเท็จจริงต่างๆ มาสนับสนุนค่านิยมของตน เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั้นเป็นค่านิยมที่
แท้จริงของตน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความกระจ่างในความคิดของตนเองเกี่ยวกับค่านิยม
และเกิดความ เข้าใจในตนเอง รวมทั้งผู้สอน ได้เรียนรู้และเข้าใจความคิดของผู้เรียน
ช่วยให้ผู้เรียน มีการมองโลกใน แง่มุมกว้างขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของผู้เรียนด้วย
2.3 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role
Playing Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ พัฒนาขึ้นโดยแชฟเทล
และแชฟ เทล (Shaftel and Shaftel, 1967 : 67 - 71)
ซึ่งให้ความสําคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล เขากล่าว ว่า
บุคคลสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ความรู้สึกนึกคิดและค่านิยมต่างๆ ของบุคคล
เป็นผลมาจากการที่บุคคลมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
และได้สั่งสมไว้ภายใน ลึกๆ โดยที่บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้
การสวมบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึก นึกคิดต่างๆ
ที่อยู่ภายในออกมา ทําให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา
และนํามาศึกษาทําความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่บุคคลสวม บทบาทของผู้อื่น
ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้
เช่นเดียวกัน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง
เข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของ ผู้อื่น และเกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม
และพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ ผู้สอนนําเสนอสถานการณ์
ปัญหา และบทบาทสมมติ
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริงและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย
และความสามารถของผู้เรียน บทบาทสมมติที่กําหนด จะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเปิดเผยความคิดความรู้สึกของตนมาก
บทบาทที่ ให้ควรมีลักษณะเปิดกว้าง กําหนดรายละเอียดให้น้อย
แต่ถ้าต้องการจะเจาะประเด็นเฉพาะอย่าง บทบาท
สมมติอาจกําหนดรายละเอียดควบคุมการแสดงของผู้เรียนให้มุ่งประเด็นเฉพาะนั้น
ขั้นที่ 2 เลือกผู้แสดง ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันเลือกผู้แสดง
หรือให้ผู้เรียน อาสาสมัครก็ได้
แล้วแต่ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการวินิจฉัยของผู้สอน
ขั้นที่ 3 จัดฉาก
การจัดฉากนั้นจัดได้ตามความพร้อมและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่
ขั้นที่ 4 เตรียมผู้สังเกตการณ์ ก่อนการแสดงผู้สอนจะต้องเตรียมผู้ชมว่า
ควร สังเกตอะไร และปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
ขั้นที่ 5 แสดง
ผู้แสดงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทําให้ผู้ชมเข้าใจ
เรื่องราวหรือเหตุการณ์ ผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามบทบาทที่ตนได้รับให้ดีที่สุด
ขั้นที่ 6 อภิปรายและประเมินผล การอภิปรายผลส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย
การอภิปรายจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ การแสดงออกของผู้แสดง
และควรเปิด โอกาสให้ผู้แสดงได้แสดงความคิดเห็นด้วย
ขั้นที่ 7 แสดงเพิ่มเติม ควรแสดงเพิ่มเติม
หากผู้เรียนเสนอแนะทางออกอื่น นอกเหนือจากที่ได้แสดงไปแล้ว
ขั้นที่ 3 อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง
หลักจากการแสดงเพิ่มเติม กลุ่มควร อภิปราย
และอภิปรายผลเกี่ยวกับการแสดงครั้งใหม่ด้วย
ขั้นที่ 9
แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสรุปผลการ อภิปรายของกลุ่มตน
และหาข้อสรุปรวม หรือการเรียนรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยม
คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรมของบุคคล
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด
ความคิดเห็น ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ของผู้อื่น รวมทั้งมีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (Psycho-Motor
Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้
เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของ ผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทํา
หรือการแสดงออกต่างๆ ซึ่งจําเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย
รูปแบบที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทางด้านนี้ ที่สําคัญๆ
ซึ่งจะนําเสนอในที่นี้มี 3 รูปแบบดังนี้
3.1
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson)
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow)
3.3 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies)
3.1
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพซน
( Instructional Model Based on Simpson's
Processes for Psycho - Motor Skill Develop
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ซิมพ์ซัน (Simpson, 1972) กล่าวว่า
ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ทางการของผู้เรียน
เป็นความสามารถในการประสานการทํางานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการทํางาน
ที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลายๆ
ส่วนการทํางานเกิดขึ้น โดยงานของสมอง
ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัตินี้สามารถพัฒนาด้วยการ
ฝึกฝน ซึ้งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง
ความคล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญชํานาญการ ความและความคงทน
ผลของพฤติกรรมหรือการกระทําสามารถสังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยํา
แรงหรือความราบรื่นในการจัดการ
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทํางานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชํานาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ (perception) เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้สิ่งที่จะทํา โดยการให้
ผู้เรียนสังเกตการณ์ทํางานนั้นอย่างตั้งใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นการเตรียมความพร้อม (readiness)
เป็นขั้นการปรับตัวให้พร้อมเพื่อการ ทํางานหรือแสดงพฤติกรรมนั้น ทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจ และอารมณ์ โดยการปรับตัวให้พร้อมที่จะทํา การเคลื่อนไหว หรือแสดงทักษะนั้นๆ
และมีจิตใจและสภาวะอารมณ์ที่ดีต่อการที่จะทําหรือแสดงทักษะ นั้นๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายในการควบคุม (guided
response) เป็นขั้นที่ให้ โอกาสแก่ผู้เรียนในการตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้
ซึ่งอาจใช้วิธีการให้ผู้เรียนเลียนแบบ การกระทํา หรือการ แสดงทักษะนั้น
หรืออาจใช้วิธีการให้ผู้เรียนลองผิดลองถูก (trial and error) จนกระทั่งสามารถตอบสนอง ได้อย่างถูกต้อง
ขั้นที่ 4 ขั้นการให้ลงมือกระทําจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทําได้เอง
(mechanism)
เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการปฏิบัติ
และเกิดความเชื่อมั่นในการทําสิ่ง นั้นๆ
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทําอย่างชํานาญ (complex
overt response) เป็นขั้นที่ช่วยให้
ผู้เรียนได้ฝึกฝนการกระทํานั้นๆจนผู้เรียนสามารถทําได้อย่างคล่องแคล่ว ชํานาญ
เป็นไปโดยอัตโนมัติ และด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง
ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้
เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงทักษะ หรือการปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น และประยุกต์ใช้ทักษะที่ตนได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ต่างๆ
ขั้นที่ 7 ขั้นการคิดริเริ่ม
เมื่อผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง ชํานาญ
และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเกิดความคิดใหม่ๆ ใน การกระทําหรือปรับการกระทํานั้นให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทําหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่วชํานาญ
ในสิ่งที่ต้องการ ให้ผู้เรียนทําได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow's
Instructional Model for Psychomotor Domain)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
แฮร์โรว์ (Harrow, 1972 : 96 – 99)
ได้จัดลําดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะ ปฏิบัติไว้ 5 ขั้นตอน
โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการ
กระทําจึงเริ่มจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ไปถึงการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อย่อย
ลําดับขั้นดังกล่าว ได้แก่การเลียนแบบ การลงมือกระทําตามคําสั่ง
การกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การแสดงออกและการ กระทําอย่างเป็นธรรมชาติ
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติการต่างๆ
กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์และชํานาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการกระทําที่ต้องการให้ผู้เรียน ทําได้
ซึ่งผู้เรียนย่อมจะรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ไม่ครบถ้วน
แต่อย่างน้อยผู้เรียนจะ สามารถบอกได้ว่า ขั้นตอนหลักของการกระทํานั้นๆ มีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทําตามคําสั่ง
เมื่อผู้เรียนได้เห็นและสามารถบอกขั้นตอน ของการกระทําที่ต้องการเรียนรู้แล้ว
ให้ผู้เรียนลงมือทําโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น ผู้เรียนอาจลงมือทําตาม
คําสั่งของผู้สอน หรือทําตามคําสั่งที่ผู้สอนเขียนไว้ในคู่มือก็ได้
การลงมือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ แม้ผู้เรียนจะ ยังไม่สามารถทําได้อย่างสมบูรณ์
แต่อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ประสบการณ์ในการลงมือทํา และค้นพบปัญหา ต่างๆ
ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และการปรับการกระทําให้ถูกต้องสมบูรณ์
ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (precision)
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะต้องฝึกฝนมากขึ้นจนสามารถทําสิ่งนั้นๆ
ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยไม่จําเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีคําสั่งนําทางการกระทํา
การกระทําที่ถูกต้องแม่นตรง พอดี สมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องสามารถ
ทําได้ในขั้นนี้
ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก (articulation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝน มากขึ้น
จนกระทั่งสามารถกระทําสิ่งนั้นได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แบบอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว
ราบรื่น และด้วยความมั่นใจ
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทําอย่างเป็นธรรมชาติ (naturalization)
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียน สามารถกระทําสิ่งนั้นๆ อย่างสบายๆ
เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ
ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติบ่อยๆ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติ
จนสามารถกระทําได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
13 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies's
Instructional Model for Psychomotor Domain)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
เดวีส์ (Davies, 1971 : 50 - 56)
ได้นําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ ปฏิบัติได้ว่า
ทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยๆ จํานวนมาก การฝึกให้ผู้เรียนสามารถ
ทําทักษะย่อยๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่
จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสําเร็จ ได้ดีแล้วรวดเร็วขึ้น
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของผู้เรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะที่ประกอบด้วยทักษะย่อยจํานวนมาก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทํา
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้เห็นทักษะหรือ
การกระทําที่ต้องการให้ผู้เรียนทําได้ในภาพรวม
โดยสาธิตให้ผู้เรียนดูทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ทักษะหรือ
การกระทําที่สาธิตให้ผู้เรียนดูนั้น จะต้องเป็นการกระทําในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ
ไม่ช้าหรือเร็วเกิน ปกติ ก่อนการสาธิต ครูควรให้คําแนะนําแก่ผู้เรียนในการสังเกต
ควรชี้แนะจุดสําคัญที่ควรให้ความสนใจ เป็นพิเศษในการสังเกต
ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย
เมื่อผู้เรียนได้เห็นภาพรวมของ การกระทําหรือทักษะทั้งหมดแล้ว
ผู้สอนควรแตกทักษะทั้งหมดให้เป็นทักษะย่อยๆ หรือแบ่งสิ่งที่กระทํา
ออกเป็นส่วนย่อยๆ และสาธิตส่วยย่อยแต่ละส่วนให้ผู้เรียนสังเกต
และทําตามไปทีละส่วนอย่างช้าๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยๆ
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะย่อย โดยไม่มี การสาธิตหรือมีแบบอย่างให้ดู
หากติดขัดจุดใด ผู้สอนควรให้คําชี้แนะ และช่วยแก้ไขจนกระทั่งผู้เรียนทํา ได้
เมื่อได้แล้วผู้สอนจึงเริ่มสาธิตทักษะย่อยส่วนต่อไป
และให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยนั้นจนทําได้ ทํา
เช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งครบทุกส่วน -
ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ เมื่อผู้เรียนปฏิบัติได้แล้ว
ผู้สอนอาจแนะนําเทคนิค วิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทํางานนั้นได้ดีขึ้น เช่น
ทําได้ประณีตสวยงามขึ้น ทําได้รวดเร็วขึ้น หรือ สิ้นเปลืองน้อยลง เป็นต้น
ขั้นที่ 5 ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆ
เป็นทักษะที่สมบูรณ์ เมื่อผู้เรียน สามารถปฏิบัติแต่ละส่วนได้แล้ว
จึงให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยๆ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ และฝึก ปฏิบัติหลายๆ
ครั้งจนกระทั่งสามารถปฏิบัติทักษะที่สมบูรณ์ได้อย่างชํานาญ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติได้อย่างดี
มีประสิทธิภาพ
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (Process
Skills)
ทักษะกระบวนการเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีดําเนินการต่างๆ
ซึ่งอาจเป็นกระบวนกา สติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้
หรือกระบวนการคิดต่างๆ อาทิ การคิดวิเคราะ อุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล
การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณา เป็นต้น
ปัจจุบันการศึกษาให้ความสําคัญในเรื่องนี้มาก
เพราะถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการดํารงชีวิต ใน ที่นี้
ผู้เขียนได้คัดเลือกรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนในด้านกระบวนการมานําเสนอ
4 รูปแบบ ดังนี้
4.1 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
4.2 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย
4.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์
4.4
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวของทอร์แรนซ์
4.1 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Instructional
Model)
ก. หลักการ/ทฤษฎีแนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล (Joyce & Well, 1996 : 80 - 88) เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้จากแนวคิด หลักของเธเลน (Thelen)
2 แนวคิด คือแนวคิดเกี่ยวกับการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (inquiry)
และแนวคิด เกี่ยวกับความรู้ (knowledge) เธเลนได้อธิบายว่า
สิ่งสําคัญที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหรือความ
ต้องการที่จะสืบค้นหรือเสาะแสวงหาความรู้ก็คือตัวปัญหา
แต่ปัญหานั้นจะต้องมีลักษณะที่มีความหมาย
ต่อผู้เรียนและท้าทายเพียงพอที่จะทําให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแสวงหาคําตอบ
นอกจากนั้นปัญหาที่ มีลักษณะชวนให้เกิดความงุนงงสงสัย (puzzlement) หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด จะยิ่งทําให้
ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเสาะแสวงหาความรู้หรือคําตอบมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากมนุษย์อาศัยอยู่ในสังคม ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
เพื่อสนองความต้องการของตนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหรือในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้อง
พยายามหาหนทางขจัดแก้ไขหรือจัดการทําความกระจ่างให้เป็นที่พอใจหรือยอมรับทั้งของตนเองและ
ผู้เกี่ยวข้อง ส่วนในเรื่อง “ความรู้” นั้น เธเลน มีความเห็นว่า
ความรู้เป็นเป้าหมายของกระบวนการสืบสอบ ทั้งหลาย
ความรู้เป็นสิ่งที่ได้จากการนําประสบการณ์หรือความรู้เดิมมาใช้ในประสบการณ์ใหม่
ดังนั้น ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ค้นพบผ่านทางกระบวนการสืบสอบ (inquiry) โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ
โดย อาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้
และช่วยดําเนินงานการ แสวงหาความรู้หรือคําตอบที่ต้องการ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งนงงสงสัย
ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการกระตุ้นความสนใจและความต้องการในการ
สืบสอบและแสวงหาความรู้ต่อไปนั้นควรเป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม กับวัย
ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนและจะต้องมีลักษณะที่ชวนให้งุนงงสงสัย (puzzlement)
เพื่อท้าทายความคิด และความใฝรู้ของผู้เรียน
ขั้นที่ 2
ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์นั้น
ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
และพยายามกระตุ้นให้ เกิดความขัดแย้ง หรือความแตกต่างทางความคิดขึ้น
เพื่อท้าทายให้ผู้เรียน พยายามหาทางเสาะแสวงหา
ข้อมูลหรือวิธีการพิสูจน์ทดสอบความคิดของตน เมื่อมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้น
ผู้สอนอาจให้ ผู้เรียนที่มีความคิดเห็นเดียวกันรวมกลุ่มกัน
หรืออาจรวมกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีความคิดเห็น แตกต่างกันก็ได้
ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสวงหาความรู้
เมื่อกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันแล้ว
สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนว่า จะ แสวงหาข้อมูลอะไร กลุ่มจะพิจารณาอะไร
จะตั้งสมมติฐานอะไร กลุ่มจําเป็นต้องมีข้อมูลอะไร และจะไป แสวงหาที่ไหน
หรือจะได้ข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร จะต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะ วิเคราะห์อย่างไร และสรุปผลอย่างไร ใครจะช่วยทําอะไร
จะใช้เวลาเท่าใด ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้อง ฝึกทักษะการสืบสอบ (inquiry)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific process) และทักษะ กระบวนการกลุ่ม (group process) ผู้สอนทําหน้าที่อํานวยความสะดวกในการทํางานให้แก่ผู้เรียน
รวมทั้ง ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการวางแผน แหล่งความรู้ และการทํางานร่วมกัน
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนดําเนินการแสวงหาความรู้
ผู้เรียนดําเนินการเสาะแสวงหาความรู้ตามแผนงานที่ได้กําหนดไว้
ผู้สอนช่วย อํานวยความสะดวก ให้คําแนะนํา และติดตามการทํางานของผู้เรียน
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล
นําเสนอและอภิปรายผล
เมื่อกลุ่มรวบรวมข้อมูลได้มาแล้ว กลุ่มทําการวิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปผล ผู้สอน ช่วยให้คําแนะนําเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
ต่อจากนั้นจึงให้แต่ละกลุ่มนําเสนอผล อภิปราย ผลร่วมกันทั้งชั้น
และประเมินผลทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับ
ขั้นที่ 6
ให้ผู้เรียนกําหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคําตอบต่อไป
การสืบสอบและแสวงหาความรู้ของกลุ่มตามขั้นตอนข้างต้น
ช่วยให้กลุ่มได้รับ ความรู้ ความเข้าใจ
และคําตอบในเรื่องที่ศึกษาและอาจจะพบประเด็นที่เป็นปัญหาชวนให้สุนงงสงสัยหรือ
อยากรู้ต่อไป ผู้เรียนสามารถเริ่มต้นวงจรการเรียนรู้ใหม่ ตั้งแต่ขั้นที่ 1
เป็นต้นไป การเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ จึงอาจมีต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
ตามความสนใจของผู้เรียน
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจาการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสืบสอบและเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
เกิดความใฝ่รู้ และมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น และได้พัฒนาทักษะการสืบสอบ (inquiry
skills) ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific process)
และทักษะกระบวนการกลุ่ม (group process)
4.2 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย (Inductive
Thinking Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบนี้ จอยส์ และวีล (Joyce & Well, 1967 : 149 - 159) พัฒนาขึ้นโดยใช้ แนวคิดของทาบา (Taba, 1967 : 90 - 92) ซึ่งเชื่อว่าการคิดเป็นสิ่งที่สอนได้ การคิดเป็นกระบวนการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและข้อมูล และกระบวนการนี้มีลําดับขั้นตอน
ดังเช่นการคิดอุปนัย (inductive thinking) จะต้องเริ่มจากการสร้างความคิดรวบยอด
หรือมโนทัศน์ก่อน (concept formation) แล้วจึงถึงขั้น
การตีความข้อมูล และสรุป (interpretation of data) ต่อไปจึงนําข้อสรุปหรือหลักการที่ได้ไปประยุกต์ใช้
(application of principles)
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดแบบอุปนัยของผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนใช้
กระบวนการคิดดังกล่าวในการสร้างมโนทัศน์และประยุกต์ใช้มโนทัศน์ต่างๆ ได้
ค. กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ
ขั้นที่ 1 การสร้างมโนทัศน์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อยคือ
1.1 ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งที่จะศึกษา
และเขียนรายการสิ่งที่สังเกตเห็น หรืออาจ ใช้วิธีอื่นๆ เช่น ตั้งคําถาม
ให้ผู้เรียนตอบในขั้นนี้ผู้เรียนจะต้องได้รายการของสิ่งต่างๆ ที่ใช่หรือไม่ใช่
ตัวแทนของมโนทัศน์ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1.2
จากรายการของสิ่งที่เป็นตัวแทนและไม่เป็นตัวแทนของมโนทัศน์นั้น ให้
ผู้เรียนจัดหมวดหมู่ของสิ่งเหล่านั้น โดยการกําหนดเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม
ซึ่งก็คือคุณสมบัติที่เหมือนกัน ของสิ่งเหล่านั้น
ผู้เรียนจะจัดสิ่งที่มีคุณสมบัติที่เหมือนกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
1.3 ตั้งชื่อหมวดหมู่ที่จัดขึ้น
ผู้เรียนจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นหัวข้อใหญ่ อะไรเป็นหัวข้อย่อย
และตั้งชื่อหัวข้อให้เหมาะสม
ขั้นที่ 2 การตีความและสรุปข้อมูล ประกอบด้วย 3
ขั้นย่อยดังนี้
2.1 ระบุความสัมพันธ์ของข้อมูล
ผู้เรียนศึกษาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจข้อมูล และ เห็นความสัมพันธ์ที่สําคัญๆ
ของข้อมูล
2.2 สํารวจความสัมพันธ์ของข้อมูล ผู้เรียนศึกษาข้อมูลและความสัมพันธ์ของ
ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น
ความสัมพันธ์ในลักษณะของเหตุและผลความสัมพันธ์ของข้อมูลในหมวดนี้
กับข้อมูลในหมวดอื่น จนสามารถอธิบายได้ว่าข้อมูลต่างๆ
สัมพันธ์กันอย่างไรและด้วยเหตุผลใด
2.3 สรุปอ้างอิง เมื่อค้นพบความสัมพันธ์หรือหลักการแล้วให้
ผู้เรียนสรุป อ้างอิงโดยโยงสิ่งที่ค้นพบไปสู่สถานการณ์อื่นๆ
ขั้นที่ 3 การประยุกต์ใช้ข้อมูลหรือหลักการ
3.1 นําข้อสรุปมาใช้ในการทํานาย หรืออธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ
และฝึก ตั้งสมมติฐาน
3.2
อธิบายให้เหตุผลและข้อมูลสนับสนุนการทํานายและสมมติฐานของตน
3.3 พิสูจน์ ทดสอบ การทํานายและสมติฐานของตน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างมโนทัศน์
และประยุกต์ใช้มโนทัศน์นั้นด้วยกระบวนการ คิดแบบอุปนัย
และผู้เรียนสามารถนํากระบวนการคิดดังกล่าวไปใช้ในการสร้างมโนทัศน์อื่นๆ ต่อไปได้
4.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics
Instructional Model)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ หรือ “Synectics
Instructional Model” นี้ เป็นรูปแบบที่จอยส์ และวีล (Joyce
and Well, 1966 : 239- 253) พัฒนาขึ้นจาก แนวคิดของ กอร์ดอน (Gordon)
ที่กล่าวว่าบุคคลทั่วไปมักยึดติดกับวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ของตน
โดยไม่ค่อยคํานึงถึงความคิดของคนอื่น ทําให้ความคิดของตนคับแคบและไม่สร้างสรรค์
บุคคลจะเกิด ความคิดเห็นที่สร้างสรรค์แตกต่างไปจากเดิมได้
หากมีโอกาสได้ลองคิดมาก่อน หรือคิดโดยสมมติตัวเอง เป็นคนอื่น
และถ้ายิ่งให้บุคคลจากหลายกลุ่มประสบการณ์มาช่วยกันแก้ปัญหา ก็จะยิ่งได้วิธีการที่
หลากหลายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นกอร์ดอนจึงได้เสนอให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดแก้ปัญหาด้วย แนวความคิดใหม่ๆ
ที่ไม่เหมือนเดิมไม่อยู่ในสภาพที่เป็นตัวเองให้ลองใช้ความคิดในฐานะที่เป็นคนอื่น
หรือเป็นสิ่งอื่น สภาพเช่นนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นได้
กอร์คอนเสนอวิธีการคิด เปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมยเพื่อใช้ในการกระตุ้นความคิดใหม่ๆ
ไว้ 3 แบบ คือ การเปรียบเทียบแบบ ตรง (direct analogy) การเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ
(personal analogy) และการเปรียบเทียบคําคู่ ขัดแย้ง (compressed
conflict) วิธีการนี้มีประโยชน์มากเป็นพิเศษสําหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนและ
การพูดอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดที่ ใหม่แตกต่างไปจากเดิม
และสามารถนําความคิดใหม่นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นนํา ผู้สอนให้ผู้เรียนทํางานต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนทํา
เช่นให้เขียน บรรยาย เล่า ทําแสดง วาดภาพ สร้าง ปั้น เป็นต้น ผู้เรียนทํางานนั้นๆ
ตามปกติที่เคยทํา เสร็จแล้ว ให้เก็บ ผลงานไว้ก่อน
ขั้นที่ 2 ขั้นการสร้างอุปมาแบบตรงหรือแบบเปรียบเทียบแบบตรง
(direct
analogy) ผู้สอนเสนอคําคู่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง
เช่น ลูกบอล กับมะนาว เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คําคู่ที่ผู้สอนเลือกมาควรให้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรืองานที่ผู้เรียนทํา
ในขั้นที่ 1 ผู้สอนเสนอคําคู่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบหลายๆ
คู่และจดคําตอบของผู้เรียนไว้บนกระดาษ
ขั้นที่ 3
ขั้นการสร้างอุปมาบุคคลหรือเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ (personal
analogyาผู้สอนให้ผู้เรียนสมมติตัวเองเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
และแสดงความรู้สึกออกมา เช่น ถ้าเปรียบผู้เรียน เป็นเครื่องซักผ้า จะรู้สึกอย่างไร
ผู้สอนจอคําตอบของผู้เรียนไว้บนกระดาษ
ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างอุปมาคําคู่ขัดแย้ง (compressed
conflict) ผู้สอนให้ผู้เรียนนํา
คําหรือวลีที่ได้จากการเปรียบเทียบในขั้นที่ 2 และ 3
มาประกอบกันเป็นคําใหม่ที่มีความหมายขัดแย้งกัน ในตัวเอง เช่น ไฟเย็น น้ําผึ้งขม
มัจจุราชสีน้ําผึ้ง เชือดนิ่มๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 ขั้นการอธิบายความหมายของคําคู่ขัดแย้ง
ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบาย ความหมายของคําคู่ขัดแย้งที่ได้
ขั้นที่ 6 ขั้นนําความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน
ผู้สอนให้ผู้เรียนนํางานที่ทําไว้เดิม ในขั้นที่ 1 ออกมาทบทวนใหม่
และลองเลือกนําความคิดที่ได้มาใหม่จากกิจกรรมขั้นที่ 5 มาใช้ในงานของ ตน
ทําให้งานของตนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจาการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ๆ และสามารถนําความคิดใหม่ๆ
นั้นไปใช้ในงานของ ตน ทําให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น
ผู้เรียนยังเกิดความตระหนักใน คุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย
4.4
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอง USH
(Torrance's Future Problem - Solving Instructional Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนามาจากรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตาม
แนวคิดของทอร์แรนซ์ (Torrance, 1962)
ซึ่งได้นําองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3 องค์ประกอบ คือ การคิดคล่องแคล่ว (fluency)
การคิดยืดหยุ่น (flexibility) การคิดริเริ่ม (originality)
มาใช้ประกอบกัน
กระบวนการคิดแก้ปัญหา
และการใช้ประโยชน์จากกลุ่มซึ่งมีความคิดหลากหลาย โดยเน้นการใช้เทคนิค
ระดมสมองเกือบทุกขั้นตอน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้ตระหนักรู้ในปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดจํานวนมาก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1
การนําสภาพการณ์อนาคตเข้าสู่ระบบการคิด
นําเสนอสภาพการณ์อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้การคิด คล่องแคล่ว การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม
และจินตนาการ ในการทํานายสภาพการณ์ อนาคตจากข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ของตน
ขั้นที่ 2
การระดมสมองเพื่อค้นหาปัญหา
จากสภาพการณ์อนาคตในขั้นที่ 1
ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าอาจจะเกิดปัญหา อะไรขึ้นบ้างในอนาคต
สรุปปัญหา และจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
ผู้เรียนนําปัญหาที่วิเคราะห์ได้มาจัดกลุ่ม
หรือจัดความสัมพันธ์เพื่อกําหนดว่าอะไร เป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง
และจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
ขั้นที่ 4
การระดมสมองหาวิธีการแก้ปัญหา ผู้เรียนร่วมกันคิดวิธีแก้ปัญหา
โดยพยายามคิดให้ได้ทางเลือกที่แปลกใหม่ จํานวนมาก
ขั้นที่ 5
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
เสนอเกณฑ์หลายๆ เกณฑ์ที่จะใช้ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา
แล้วตัดสินใจเลือก เกณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในแต่ละสภาพการณ์
ต่อไปจึงนําเกณฑ์ที่คัดเลือกไว้มาใช้ ในการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
โดยพิจารณาถึงน้ําหนักความสําคัญของเกณฑ์แต่ละข้อด้วย
ขั้นที่ 6
การนําเสนอวิธีแก้ปัญหาอนาคต
ผู้เรียนนําวิธีการแก้ปัญหาอนาคตที่ได้
มาเรียบเรียงอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ข้อมูลที่จําเป็น
คิดวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมและนําเสนออย่างเป็นระบบน่าเชื่อถือ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา
และตระหนักรู้ในปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต
และสามารถใช้ทักษะการคิดแก้ปัญหามาใช้ในการคิดแก้ปัญหาปัจจุบัน และป้องกันปัญหาที่
จะเกิดขึ้นในอนาคต
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้
เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของผู้เรียนไปพร้อมๆ กัน
โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการรูปแบบในลักษณะนี้
กําลังได้รับความนิยมอย่างมาก
เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนา รอบด้านหรือการพัฒนาเป็นองค์รวม
รูปแบบในลักษณะดังกล่าวที่นํามานําเสนอในที่นี้มี 4 รปแบบใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
3. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
4. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
4.1 รูปแบบจิ๊กซอร์ (JIGSAW)
4.2 รูปแบบเอส. ที. เอ. ดี (STAD)
4.3 รูปแบบ ที. เอ. ไอ. (TA)
4.4 รูปแบบ ที. จี. ที. (TGT)
4.5 รูปแบบแอล. ที. (LT)
4.6 รูปแบบ จี. ไอ (GI)
4.7 รูปแบบ ซี. ไอ. อาร์. ซี. (CIRC)
4.8 รูปแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Instruction)
1. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct
Instruction Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์ และวีล (Joyce and Weil, 1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจํานวนไม่น้อยที่ ชี้ให้เห็นว่า
การสอนมุ่งเน้นการให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทําให้
ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียน
การเรียนการสอนโดย จัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหา
ความรู้และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่าง ประสิทธิภาพ (academic
learning)เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด
ผู้เรียนมของ จดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80%
ประสบความสําเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยง
บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสําหรับผู้เรียน
สามารถสกัดกั้นความสําเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น 8 จึงจําเป็นต้องระมัดระวัง
ไม่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าว แสด พอใจ
หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนนี้มุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา
สาระ และมโนทัศน์ต่างๆ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ
จนสามารถทําได้ดีประสบผลสําเร็จได้ในเวลาที่จำกัด
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนของรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญๆ 5
ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนํา
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรม
การเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน
และความสัมพันธ์กับความรู้และ ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้
และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการ เรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนําเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนําเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์
ผู้สอนควร กลั่นกรองและสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น
และนําเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและ ยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ
ต่อไปจึงสรุปคํานิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์
ก่อนให้ผู้เรียนลง มือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ
ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured
practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม
ผู้สอนให้ข้อมูล ป้อนกลับ ให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกํากับของผู้ชี้แนะ (guided
practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ
ผู้สอนจะสามารถ ประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสําเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของ
ผู้เรียน และช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน
แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent
practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ
85 - 90% แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ
เพื่อช่วยให้เกิดความชํานาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน
ผู้สอนไม่จําเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้
การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทํา ติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะๆ
เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา
ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัย
และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจํากัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
ตามความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทําให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน
และมี ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรือง (Storyline
Method)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสร้างเรื่อง (Storyline
Approach) พัฒนาขึ้น โดย ดร.สตีฟเท็ล
และแซลลี่
ฮาร์คเนส (Steve Bell and Sally Harkness) จากสก็อตแลนด์
เขามีความเชื่อ เกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า (อรทัย มูลคํา และคณะ, 2541 : 34 - 35)
1. การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ หรือเป็นสหวิทยาการ คือเป็นการเรียนรู้
ที่ผสมผสานศาสตร์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน
เพื่อประโยชน์สูงสุดในการประยุกต์ใช้ในการทํางานและ ดําเนินชีวิตประจําวัน
2.
การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านทางประสบการณ์ตรงหรือการกระทํา
หรือการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง
3. ความคงทนของผลการเรียนรู้
ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการที่ได้รับความรู้มา 4.
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานที่ดีได้หากมีโอกาสได้ลงมือกระทํา
นอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้ว
การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสร้างเรื่องนี้ยังใช้
หลักการเรียนรู้และการสอนอีกหลายประการ เช่น
การเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่วิถีชีวิตจริง การสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง
และการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
จากฐานความเชื่อและหลักการดังกล่าว สตีฟเท็ล
(ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาและโลก ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 : 4) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่มีลักษณะ
บูรณาการเนื้อหาหลักสูตรและทักษะการเรียนจากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน
โดยให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ เรื่องขึ้นด้วยตนเอง โดยผู้สอนทําหน้าที่วางเส้นทาง
เดินเรื่องให้ โดยดําเนินการเรื่องแบ่งเป็นตอนๆ (episode) แต่ละตอนประกอบด้วยกิจกรรมย่อยที่เชื่อมโยงกันด้วยคําถามหลัก
(key question) ลักษณะของ
คําถามหลักที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวให้ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องมี 4 คําถามได้แก่
ที่ไหน ใคร ทําอะไร อย่างไร และมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
ผู้สอนจะใช้คําถามหลักเหล่านี้เปิดประเด็นให้ผู้เรียนคิดร้อยเรียง
เรื่องราวด้วยตนเอง รวมทั้งสร้างสรรค์ชิ้นงานประกอบกันไป
การเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวจึงช่วยให้
ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์และความคิดของตนอย่างเต็มที่และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดกัน อภิปรายร่วมกัน และเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ข.วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ
และเจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน รวมทั้ง ทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น
ทักษะการคิด ทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการ สื่อสาร
เป็นต้น
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามรูปแบบจําเป็นต้องมีการวางแผนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ
ล่วงหน้า โดยดําเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 การกําหนดเส้นทางเดินเรื่องให้เหมาะสม
ผู้สอนจําเป็นต้องวิเคราะห์จุดหมายและเนื้อหาสาระของหลักสูตร
และเลือก - ) ชื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
และจัดแผนการ สอนในรายละเอียดเส้นทางเดินเรื่อง ประกอบด้วย 4 องค์ (episode) หรือ
4 ตอนด้วยกัน คือ ฉาก ถ้าละคร วิถีชีวิตและเหตุการณ์ ในแต่ละองค์
ผู้สอนจะต้องกําหนดประเด็นหลักขึ้นมาแล้วตั้งเป็นคําถาม
แล้วตั้งเป็นคําถามนําให้ผู้เรียนศึกษาหาคําตอบ
ซึ่งคําถามเหล่านี้จะโยงไปยังคําตอบที่สัมพันธ์กับ เนื้อหาวิชาต่างๆ
ที่ประสงค์จะบูรณาการเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 2 การดําเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้สอนดําเนินการตามแผนการสอนไปตามลําดับ
การเรียนการสอนแบบนี้ อาจใช้ เวลาเพียงไม่กี่คาบ
หรือต่อเนื่องกันเป็นภาคเรียนก็ได้ แล้วแต่หัวเรื่องและการบูรณาการว่าสามารถทําได้
ครอบคลุมเพียงใดแต่ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ภาคเรียน
เพราะผู้เรียนอาจเกิดความเบื่อหน่าย ในการเริ่ม กิจกรรมใหม่ ผู้สอนควรเชื่อมโยงกับเรื่องที่ค้างไว้เดิมให้สานต่อกันเสมอและควรให้ผู้เรียนสรุปความคิด
รวบยอดของแต่ละกิจกรรม ก่อนจะขึ้นกิจกรรมใหม่
นอกจากนั้นควรกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนชื่นชมผลงานของกันและกัน และได้ปรับปรุง พัฒนางานของตน
ขั้นที่ 3 การประเมิน
ผู้สอนใช้การประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง (authentic
assessment) คือการ ประเมินจากการสังเกต การบันทึก
และการรวบรวมข้อมูลจากผลงานและการแสดงออกของผู้เรียนการ
ประเมินจะไม่เน้นเฉพาะทักษะพื้นฐานเท่านั้น
แต่จะรวมถึงทักษะการคิด การทํางาน การร่วมมือ การ เสือเหาและอื่นๆ
การประเมินให้ความสําคัญในการประสบผลสําเร็จในการทํางานของผู้เรียนแต่ละคน
มากกว่าการประเมินผลการเรียนที่มุ่งให้คะแนนผลผลิต
และจัดลําดับที่เปรียบเทียบกับกลุ่ม
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้จากการเรียนรู้ตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความรู้
ความเข้าใจ ในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และ สังเคราะห์ได้
รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
ตารางที่
27 ตัวอย่างแผนการสอน Story line
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรมการเรียนการสอน โดยการสร้างเรื่อง
(วลัย พานิช,2543 :40)
หัวข้อ : ครอบครัวไทยในยุคไอเอ็มเอฟ
การผูกเรื่อง
(คําเนินเรื่อง)
|
แผนผัง
|
กิจกรรม
|
ลักษณธการ
จัดชั้นเรียน
|
สื่อการเรียนการสอน
|
ผลงานของนักเรียน
|
การประเมิลผล
|
1.
ครอบครัว
คนไทย
|
ครอบครัว
ของคุณมี
สมาชิกกี่คน
ใครบ้าง
มีอาชีพ
อะไรบ้าง
|
นักเรียนเสนอชื่อสมาชิกในครอบครัวบอกรายละเอียดคนในครอบครัว
|
กลุ่มย่อย
|
กระดาษ กาว สี
|
รูปภาพของสมาชิกในแต่ละครอบครัวและประวัติสมาชิกในครอบครัว
|
- ทักษะต่างๆ
- การสังเกต
- การคิดสร้างสรรค์
- การทำงานกลุ่ม
- การจัดการ
|
2.
ที่อยู่อาศัย
ของ
ครอบครัว
|
ที่อยู่อาศัย
ของคุณ
มีลักษณะ
เป็นอย่างไร
|
นักเรียนเสนอลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยของแต่ละครอบครัว
|
กลุ่มย่อย
|
กระดาษ กาว สี
|
ลักษณะของบ้าน
|
*ผลงานที่ได้รับมอบหมาย
|
ก. ทฤษฎี หลักการ/หรือแนวคิดของรูปแบบ
แม็คคาร์ธี (McCarthy อ้างถึง
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7 - 11)
พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่า
การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก ความสัมพันธ์ของ 2 มิติ คือ การรับรู้ (perception)
และกระบวนการจัดกระทําข้อมูล (processing) การ
รับรู้ของบุคคลมี 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็น
นามธรรม (abstract conceptualization) ส่วนกระบวนการจัดการกระทํากับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี 2 ลักษณะ
เช่นเดียวกัน คือ การลงมือทดลองปฏิบัติ และการสังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง
เมื่อลากเส้นตรง ของช่องทางการรับรู้ 2 ช่องทาง
และเส้นตรงของกระบวนการจัดกระทําข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มาตัด กัน
แล้วเขียนเป็นวงกลมจะเกิดพื้นที่เป็น 4 ส่วนของวงกลม ซึ่งสามารถแทนลักษณะการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน 4 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (imaginative
learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทาง ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
และใช้กระบวนการจัดกระทําข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง แบบที่ 2
เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์
(analytic
learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นและชอบใช้กระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง
แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสํานึก common senes learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม และชอบใช้
กระบวนการลงมือทํา แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดในการปรับเปลี่ยน (dynamic
learners) เพราะมีการรับรู้
ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและชอบใช้กระบวนการลงมือปฏิบัติ แมคคาร์ธี และคณะ
(ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7 - 11)
ได้นําแนวคิดของโคล์ป มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการ ทํางานของสมองทั้งสองซีก
ทําให้เกิดเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คําถามหลัก 4 คําถามคือ
ทําไม (Why?) อะไร (What?) อย่างไร (How?)
และถ้า (17) ซึ่งสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มี
ลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกันทั้ง 4 แบบ ให้สามารถใช้สมองทุกส่วนของตนในการพัฒนาศักยภาพของ
ตนได้อย่างเต็มที่ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542
: 15- 16)
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน
(whole
brain) ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT มีขั้นตอนดําเนินการ 8 ขั้น ดังนี้ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ
พุ่มมั่น, 2542 : 11 - 16: เธียร พานิช, 2542 : 3- 5)
ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์
ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง
ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบคําถามได้ว่า ทําไมตนจึงต้องเรียนรู้ เรื่องนี้
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ประสบการณ์
หรือสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ ช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้
และยอมรับความสําคัญของเรื่องที่เรียน
ขั้นที่ 3 การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดหรือแนวคิดเมื่อผู้เรียนเห็น
คุณค่าของเรื่องที่เรียนแล้ว
ผู้สอนจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอด
ขึ้นด้วยตนเอง
ขั้นที่ 4 การพัฒนาความรู้ความคิด
เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์และเกิดความคิดรวบยอดหรือแนวคิดพอสมควรแล้ว
ผู้สอนจึงกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความคิดของตนให้กว้างและลึกซึ้งขึ้น
โดยการให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
การเรียนรู้ในขั้นที่ 3 และ 4 นี้คือการตอบคําถามว่า สิ่งที่ได้ เรียนรู้คือ อะไร
ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้
ในขั้นนี้ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนําความรู้ความคิดที่ได้รับจากการเรียนรู้ในขั้น
ที่ 3 – 4 มาทดลองปฏิบัติจริง และศึกษาผลที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 6 การสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง
จากการปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ในขั้นที่ 5
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ถึงจุดเด่น จุดด้อยของแนวคิด
ความเข้าใจแนวคิดนั้นจะกระจ่างขึ้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนา
ความสามารถของตน โดยการนําความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้หรือปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานที่
เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ดังนั้นคําถามหลักที่ใช้ในขั้นที่ 5 - 6
ก็คือจะกระทําอย่างไร
ขั้นที่ 7 การวิเคราะห์ผลงานและแนวทางในการนําไปประยุกต์ใช้
เมื่อผู้เรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานของตนตามความถนัดแล้ว
ผู้สอนควรเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานของตน ชื่นชมกับความสําเร็จ
และเรียนรู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับปรุงงาน ของตนให้ดีขึ้น
และการนําไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ขั้นที่ 8 การและเปลี่ยนความรู้ความคิด
ขั้นนี้เป็นขั้นของการขยายขอบข่ายของความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด
แก่กันและกัน และร่วมกันอภิปรายเพื่อการนําการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริงและอนาคต
คําถามหลัก ในการอภิปรายก็คือ ถ้า? ซึ่งอาจนําไปสู่การเปิดประเด็นใหม่สําหรับผู้เรียนในการเริ่มต้นวัฏจักรของการ
เรียนรู้ในเรื่องใหม่ต่อไป
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน
จะเกิดความรู้ความเข้าใจ และนําความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้
และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อีกจํานวนมาก
4. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional
Models of Cooperative Learning)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการ เรียนรู้แบบร่วมมือของจอห์นสัน (Johnson
& Johnson, 1974 : 213 - 240) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนควร
ร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน
เพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้ ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน
ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ชนะ ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจ
และสติปัญญา หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการประกอบด้วย 1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพา
กัน (positive interdependence) โดยถือว่าทุกคนมีความสําคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากัน
เพื่อ ความสําเร็จร่วมกัน 2.การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน
มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ข้อมูล และการเรียนรู้ต่างๆ 3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัย ทักษะทางสังคม (Social
skills) โดยเฉพาะทักษะในการทํางานร่วมกัน และ 4.
การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการ วิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing) ที่ใช้ในการทํางาน และ 5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมี
ผลงาน หรือผลสัมฤทธิ์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
ที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกัน
นอกจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้าน เนื้อหาสาระต่างๆ
ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตอีกมาก
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ
ด้วยตนเองและด้วยความ ร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การทํางานร่วมกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดการ
แก้ปัญหาและอื่นๆ
ค. กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
มีหลายรูปแบบซึ่งแต่ ละรูปแบบจะมีวิธีการดําเนินการหลักๆ ซึ่งได้แก่ การจัดกลุ่มการศึกษาเนื้อหาสาระ
การทดสอบ การคิด คะแนน และระบบการให้รางวัลแตกต่างกันออกไป
เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบใดต่างก็ใช้หลักการเดียวกัน
คือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 หลักการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรง
ไปในทิศทางเดียวกัน คือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการ
ร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน
ความแตกต่างของรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระ
และวิธีการเสริมแรง และการให้รางวัลเป็นประการ สําคัญเพื่อความกระชับในการนําเสนอ
ผู้เขียนจึงจะนําเสนอกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบทั้ง 8 รูปแบบต่อเนื่องกัน
ดังนี้
1. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิกซอร์ (JIGSAW)
1.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง – กลาง - อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home
group)
1.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา
ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน
(เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น)
และหาคําตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอน มอบหมายให้
1.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่น
ซึ่งได้รับ เนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert
group) ขึ้นมา และร่วมกันทําความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
นั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคําตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
1.4 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเราแต่ละคนช่วยสอนเพื่อน
ในกลุ่มให้เข้าใจในสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชียวชาญ เช่นนี้
สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวม ของสาระทั้งหมด
1 5 ผู้เรียนทุกคนทําแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล
และได้คะแนน
คะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน
(หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ 2 สูงสุด ได้รับรางวัล
2. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. (STAD)
คําว่า
“STAD”
เป็นตัวย่อของ “Student Teams Achievement Division กระบวนการดําเนินการมีดังนี้
2.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง – กลาง - อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home
group)
2.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระ
และศึกษาเนื้อหาสาระนั้น ร่วมกัน เนื้อหาสาระนั้นอาจมีหลายขั้นตอน
ซึ่งผู้เรียนอาจต้องทําแบบทดสอบในแต่ละตอน และเก็บ คะแนนของตนไว้
2.3 ผู้เรียนทุกคนทําแบบทดสอบครั้งสุดท้าย
ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอดและ นําคะแนนของตนไปหาคะแนนพัฒนาการ (improvement
score) ซึ่งหาได้ดังนี้
คะแนนพื้นฐาน : ได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลายๆ
ครั้งที่ผู้เรียน แต่ละคนทําได้
คะแนนที่ได้ : ได้จากการนําคะแนนทดสอบครั้งสุดท้ายลบคะแนนพื้นฐาน
คะแนนพัฒนาการ :
ถ้าคะแนนที่ได้คือ
11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 0
1 ถึง -10 คะแนนพัฒนาการ = 10
+1 ถึง 10 คะแนนพัฒนาการ = 20
+11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 30
2.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา
นําคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนในกลุ่มมา รวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด
กลุ่มนั้นได้รางวัล
3. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ที. เอ. ไอ. (TAI)
คําว่า “TAI” มาจาก “Team -
Assisted Individualization” ซึ่งมีกระบวนการ
ดังนี้
3.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง - กลาง - อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home
group)
3.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระ
และศึกษาเนื้อหาสาระนั้น ร่วมกัน
3.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา จับคู่กันทําแบบฝึกหัด
ก. ถ้าใครทําแบบฝึกหัดได้ 75%
ขึ้นไปให้ไปรับการทดสอบรวบยอดครั้ง
สุดท้าย
ข. ถ้ายังทําแบบฝึกหัดได้ไม่ถึง 75%
ให้ทําแบบฝึกหัดซ่อมจนกระทั่งทําได้ แล้วจึงไปรับการทดสอบรวบยอดครั้งสุดท้าย
3.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราแต่ละคน นําคะแนนทดสอบรวบยอดมา
รวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนกลุ่มสูงสุด กลุ่มนั้นได้รับรางวัล
4. กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ ที.จี.ที. (TGT)
ตัวย่อ “TGT” มาจาก “Team
Games Tournament”
4.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง – กลาง - อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home
group)
4.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระ และศึกษาเนื้อหาสาระ
ร่วมกัน
4.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา
แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันกับกลุ่ม อื่นโดยจัดกลุ่มแข่งขันตามความสามารถ
คนเก่งในกลุ่มบ้านของเราแต่ละกลุ่มไปรวมกัน คนอ่อนไปรวม กับคนอ่อนของกลุ่มอื่น
กลุ่มใหม่ที่รวมกันนี้เรียกว่ากลุ่มแข่งขันกําหนดให้มีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน
4.4 สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน เริ่มแข่งขันกันดังนี้
ก. แข่งขันกันตอบคําถาม 10 คําถาม
ข. สมาชิกคนแรกจับคําถามขึ้นมา 1 คําถาม
และอ่านคําถามให้กลุ่มฟัง
ค. ให้สมาชิกที่อยู่ซ้ายมือของผู้อ่านคําถามคนแรกตอบคําถาม
ก่อน ต่อไปจึง ให้คนถัดไปตอบจนครบ
ง. ผู้อ่านคําถาม เปิดคําตอบ
แล้วอ่านเฉลยคําตอบที่ถูกให้กลุ่มฟัง
จ. ให้คะแนนคําตอบ ดังนี้ ผู้ตอบถูกเป็นคนแรกได้ 2 คะแนน
ผู้ตอบถูกคนต่อไปได้ 1 คะแนน ผู้ตอบผิดได้ 0 คะแนน
ฉ. ต่อไปสมาชิกกลุ่มที่สองจับคําถามที่ 2
และเริ่มเล่นตามขั้นตอน ข ค ไป เรื่อยๆ จนกระทั่งคําถามหมด
ช. ทุกคนรวมคะแนนของตนเอง
ผู้ได้คะแนนสูงอันดับ 1 ได้โบนัส 10 คะแนน
ผู้ได้คะแนนสูงอันดับ 2 ได้โบนัส 8 คะแนน
ผู้ได้คะแนนสูงอันดับ 3 ได้โบนัส 5 คะแนน
ผู้ได้คะแนนสูงอันดับ 4 ได้โบนัส 4 คะแนน
45 เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว สมาชิกกลุ่มกลับไปกลุ่มบ้านของเรา
แล้วนําคะแนน ที่แต่ละคนได้รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
5. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบแอล.ที่ (L.)
“LT.” มาจากคําว่า Learning
Together ซึ่งมีกระบวนการที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
5.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง – กลาง - อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน
5.2 กลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คน ศึกษาเนื้อหาร่วมกัน
โดยกําหนดให้แต่ละคนมี บทบาทหน้าที่ช่วยกลุ่มในการเรียนรู้ตัวอย่างเช่น
สมาชิกคนที่ 1 : อ่านคําสั่ง
สมาชิกคนที่ 2 : หาคําตอบ
สมาชิกคนที่ 3 : หาคําตอบ
สมาชิกคนที่ 4 : ตรวจคําตอบ
5.3 กลุ่มสรุปคําตอบร่วมกัน และส่งคําตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม
5.4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร สมาชิกทุกคนในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนนั้น
เท่ากันทุกคน
6. กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ จี.ไอ. (G.)
“G.I.” คือ “Group
Investigation” รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน
ช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยดําเนินการเป็นขั้นตอนดังนี้
6.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง – กลาง – อ่อน)
กลุ่มละ 4 คน 6.2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย ก.
แบ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคําตอบ
ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
6.3 สมาชิกแต่ละคน ไปศึกษาหาข้อมูล/คําตอบมาให้กลุ่ม
กลุ่มอภิปราย ร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา
6.4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน
7. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC)
รูปแบบ CIRC หรือ “Cooperative
Integrated Reading And Compos เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ใช้ในการสอนอ่านและเขียนโดยเฉพาะ
รูปแบ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการอ่านแบบเรียน
การสอนการอ่านเพื่อควา และการบูรณาการภาษากับการเรียน
โดยมีขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้ (Slavin, 1995 : 104 –
110)
1.1
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถในการอ่าน
นักเรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่
2 คน หรือ 3 คน ทํากิจกรรมการอ่านแบบเรียน ร่วมกัน
7.2
ครูจัดทีมใหม่โดยให้แต่ละทีมมีนักเรียนต่างระดับความสามารถอย่างน้อย ๒ะดับ
ทีมทํากิจกรรมร่วมกัน เช่น เขียนรายงาน แต่งความ ทําแบบฝึกหัดและแบบทดสอบต่างๆ
และมี การให้คะแนนผลงานของแต่ละทีม ทีมใดได้คะแนน 90% ขึ้นไป
จะได้รับประกาศนียบัตรเป็น “ซุปเปอร์ ทีม” หากได้รับคะแนนตั้งแต่ 80 - 89%
ก็จะได้รับรางวัลรองลงมา
7.3 ครูพบกลุ่มการอ่านประมาณวันละ 20 นาที
แจ้งวัตถุประสงค์ในการอ่าน และนําคําศัพท์ใหม่ๆ ทบทวนศัพท์เก่า
ต่อจากนั้นครูจะกําหนดและแนะนําเรื่องที่อ่านแล้วให้ผู้เรียนทํา กิจกรรมต่างๆ
ตามที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ เช่น อ่านเรื่องในใจแล้วจับคู่อ่านออกเสียงให้เพื่อนฟัง
และช่วยกัน แก้จุดบกพร่องหรือครูอาจจะให้นักเรียนช่วยกันตอบคําถาม วิเคราะห์ตัวละคร
วิเคราะห์ปัญหาหรือ ทํานายว่าเรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น
7.4 หลังจากกิจกรรมการอ่าน ครูนําการอภิปรายเรื่องที่อ่าน
โดยครูจะเน้นการ ฝึกทักษะต่างๆ ในการอ่าน เช่น การจับประเด็นปัญหาทํานาย เป็นต้น
7.5 นักเรียนรับการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ
นักเรียนจะได้รับคะแนน เคคลและทีม
7.6 นักเรียนจะได้รับการสอนและฝึกทักษะการอ่านสัปดาห์ละ 1
วัน เช่น ทักษะการจับใจความสําคัญ ทักษะการอ้างอิง ทักษะการใช้เหตุผล เป็นต้น
7.7 นักเรียนจะได้รับชุดการเรียนการสอนเขียน
ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อ การเขียนได้ตามความสนใจ
นักเรียนจะช่วยกันวางแผนเขียนเรื่อง และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
และในที่สุดตีพิมพ์ผลงานออกมา
7.8
นักเรียนจะได้รับการบ้านให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจและเขียนรายงาน
เรื่องที่อ่านเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนที่บ้าน
โดยมี แบบฟอร์มให้
8. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบคอมเพล็กซ์ (Complex
Instruction)
รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดย
เอลิซาเบธ โคเฮนและคณะ (Elizabeth Cohen) เป็น
รูปแบบที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ จี.ไอ.
เพียงแต่จะเน้นการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มมากกว่าการทําเป็น รายบุคคล
นอกจากนั้นงานที่ให้ยังมีลักษณะของการประสานสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะหลาย
ประเภท และเน้นการให้ความสําคัญแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
โดยจัดงานให้เหมาะสมกับความสามารถ และความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน
ดังนั้นครจึงจําเป็นต้องค้นหาความสามารถเฉพาะทางของผู้เรียนที่ อ่อน โคเฮน
เชื่อว่า หากผู้เรียนได้รับรู้ว่าตนมีความถนัดในด้านใด
จะช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการ พัฒนาตนเองในด้านอื่นๆ
ด้วยรูปแบบนี้จะไม่มีการใช้กลไกของการให้รางวัลเนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้
ออกแบบให้งานที่แต่ละบุคคลที่สามารถสนองตอบความสนใจของผู้เรียนและสามารถจูงใจผู้เรียนแต่ละ
คนอยู่แล้ว
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและ
ช่วยเหลือจากเพื่อนๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการ ทํางานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์
ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการ แก้ปัญหา เป็นต้น
รูปแบบการเรียนการสอนที่ได้คัดสรรมานําเสนอไว้ในบทนี้ล้วนเป็นรูปแบบที่
น่าสนใจ มีความแปลกใหม่ และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสอนและการเรียนรู้ทั้งสิ้น
หากผู้สอนให้ ความสนใจและพยายามศึกษาให้เข้าใจ
และลองนําไปใช้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของรูปแบบนั้นๆ
จะสามารถช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
มีโอกาสพัฒนาความสามารถในการคิดมาก ขึ้นและเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน
สรุป
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพและได้รับความ
นิยมโดยทั่วไปมีจํานวนมากและครอบคลุมการพัฒนาทั้งทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย
ทักษะพิสัย และการ พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
รวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการหรือเน้นการเรียนรู้ แบบองค์รวม
ผู้สอนที่ต้องการจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์หรือเนื้อหาสาระต่างๆ
ได้อย่างมี ความหมาย เกิดความเข้าใจได้ดีและสามารถจดจําสิ่งที่เรียนรู้ได้นาน
ควรศึกษารูปแบบของจอยส์และวีล กานเย และออซูเบล
ส่วนผู้ที่สนใจจะฝังค่านิยมหรือช่วยให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาดใน
ประเด็นปัญหาขัดแย้งต่างๆ
รวมทั้งการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของ
ตนและของผู้อื่น ควรศึกษารูปแบบของแครทโวลบลูม และมาเซีย
และรูปแบบของจอยส์และวีลสําหรับ การพัฒนาด้านทักษะพิสัยนั้น รูปแบบการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันแฮร์โรว์
และเดวีส์ สามารถ ช่วยได้ นอกจากนั้นยังมีรูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการต่างๆ
อันเป็นเครื่องมือสําคัญในการ
เรียนรู้และดํารงชีวิตอีกหลายรูปแบบที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการสืบสอบ
กระบวนการคิด อุปนัย กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต เป็นต้น
ส่วนการจัดการเรียนการ สอนเพื่อเน้นการบูรณาการนั้น
สามารถใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง การสอนโดยการสร้างเรื่อง
การสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ซึ่งล้วนเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ และ น่าสนใจทั้งสิ้น
สมควรที่ผู้สอนทั้งหลายจะสร้างความสนใจ ศึกษาให้เข้าใจ และนําไปทดลองใช้ เพื่อ
ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น